ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ในช่วงปีนี้ คู่บ่าวสาวหลายคู่เริ่มทยอยจัดพิธีหมั้นและพิธีแต่งงานหลังจากเลื่อนมาเป็นระยะเวลาแรมปีเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในปีที่ผ่านมา และเมื่อกล่าวถึงพิธีหมั้นและพิธีแต่งงานตามประเพณีไทยนั้นสิ่งที่มักจะเป็นปัญหาของคู่บ่าวสาวอยู่เสมอคงหนีไม่พ้นเรื่องของ “สินสอด-ทองหมั้น”
สินสอดทองหมั้นนั้นนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ตามประเพณีไทยแล้ว (โดยในบทความนี้เราจะมิได้วิเคราะห์ในเชิงคุณค่าว่ายังเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่) ยังถูกสะท้อนออกมาในรูปของกฎหมายครอบครัวที่มีเอกลักษณ์ต่างกับกฎหมายครอบครัวของประเทศอื่น ๆ ด้วย วันนี้ผู้เขียนจะพาทุกท่านไปรู้จักกับของหมั้นตามกฎหมายไทย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 ได้บัญญัติถึงเรื่องของหมั้นไว้ว่า
“การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง”
ของหมั้นตามกฎหมายจึงหมายถึงทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้มอบให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และเมื่อได้ส่งมอบกันแล้วย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หญิงในทันที แต่ทั้งนี้การที่จะเป็นของหมั้นได้นั้นชายและหญิงต้องมีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสกันด้วย หากชายและหญิงมิได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว แม้จะมีการจัดพิธีหมั้นและมีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กัน สิ่งนั้นก็ไม่เรียกว่าเป็นของหมั้นตามกฎหมาย (ฎีกาที่ 8954/2549)
ตามกฎหมายแล้วสัญญาหมั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบของหมั้นเท่านั้น ส่วนวิธีการส่งมอบก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำมาใช้ในการหมั้น หากเป็นเงินสด ทองคำ หรือแหวนเพชรก็อาจส่งมอบทั้งจำนวนในพิธีหมั้นได้เลย หรือหากของหมั้นเป็นรถยนต์ในกรณีนี้การส่งมอบคงไม่จำเป็นต้องถึงขั้นนำรถยนต์มามอบให้กันในงานจริง ๆ เพียงแต่ส่งมอบกุญแจรถยนต์ก็เพียงพอที่จะถือว่าการส่งมอบนั้นสมบูรณ์แล้ว หากของหมั้นนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องมีการจดทะเบียนโอนกับเจ้าหน้าที่ด้วยจึงจะสมบูรณ์
หากในวันหมั้น ฝ่ายชายเพียงแต่สัญญาว่าจะนำของหมั้นมามอบให้ในวันหน้าหรือในอนาคต สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ของหมั้น ฝ่ายหญิงจะมาฟ้องเรียกเอาของหมั้นตามสัญญานั้นในภายหลังไม่ได้
ตามกฎหมายไทยแล้ว สัญญาหมั้นมิได้กำหนดให้มีการจัดพิธีตามประเพณีแต่อย่างใด หากแต่เพียงครบเงื่อนไขแห่งสัญญาและมีการส่งมอบของหมั้นก็ถือว่าสัญญาหมั้นเกิดขึ้นแล้ว แม้จะไม่ได้จัดพิธีตามประเพณีหรือมีผู้ใหญ่ของแต่ละฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยาน ของที่ใช้ในการหมั้นนั้นก็ยังนับเป็นของหมั้นตามกฎหมาย (ฎีกาที่ 4905/2543)
การที่จะถือเป็นของหมั้นที่มีผลตามกฎหมายได้นั้นคู่สัญญาหมั้นทั้งชายและหญิงต้องมีเจตนาไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วย หากมีเจตนาแต่เพียงอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน สิ่งที่มอบให้แก่กันนั้นก็มิใช่ของหมั้น และการจดทะเบียนตามกฎหมายในปัจจุบันยังถือเอาเพศสภาพโดยกำเนิดเป็นเกณฑ์ กรณีนี้จึงหมายถึงการจดทะเบียนระหว่าง “ชาย-หญิง” เท่านั้น หากเป็นพิธีหมั้นระหว่างบุคคลเพศเดียวกันกฎหมายยังมิได้มีการรับรองแต่อย่างใด
ตอนที่ 2 กฎหมายการสมรส เรื่อง สินสอด
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่