เหตุลดโทษเพราะบันดาลโทสะ

บันดาลโทสะ

เรื่องบันดาลโทสะ ถือว่าเป็นการกระทำความผิด เพียงแต่เป็นเหตุลดโทษให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

หลักเกณฑ์ในเรื่องบันดาลโทสะ

หลักเกณฑ์เรื่องบรรดาลโทสะ
  1. ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
  2. การที่ถูกข่มเหงเช่นนั้นเป็นเหตุให้ผู้กระทำบันดาลโทสะ
  3. ผู้กระทำได้กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ

เหตุอันไม่เป็นธรรมนั้น ต้องร้ายแรง

การข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต้องร้ายแรง จึงจะอ้างบันดาลโทสะได้ หากไม่ร้ายแรงก็จะอ้างไม่ได้ หลักในการวินิจฉัย ว่ามีการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องเปรียบเทียบกับความรู้สึกของคนธรรมดาทั่วไปซึ่งสมมติขึ้นในฐานะอย่างเดียวกันกับผู้กระทำความผิด จะวินิจฉัยโดยยึดเอาความรู้ของผู้กระทำความผิดเองไม่ได้ การสมมติบุคคลธรรมดาขึ้นเปรียบเทียบนี้ ต้องมีลักษณะบางอย่างเหมือนผู้กระทำ เช่น สภาพทางร่างกาย หรือจิตใจ ภาวะแห่งการดำรงชีพ การศึกษา อบรม อุปนิสัย และพฤติการณ์พิเศษในขณะนั้น แต่จะนำอารมณ์ที่โกรธง่ายกว่าปกติของผู้กระทำความผิดมาคำนึงด้วยมิได้ เพราะจะกลายเป็นวินิจฉัยตามความรู้สึกของผู้กระทำความผิดนั้นไปเอง

  1. การกระทำอันเป็นการละเมิดกฎหมาย โดยทั่วๆ ไปก็คงจะต้องถือว่าเป็นการข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม การกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นละเมิดกฎหมายก็อาจจะถือว่าเป็นการข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมได้
  2. การใช้อำนาจตามกฎหมาย
  3. ผู้ที่ก่อเหตุขึ้นก่อน หากอีกฝ่ายหนึ่งกระทำการโต้ตอบกลับมา จะถือว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้
  4. ผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายซึ่งกันและกัน จะกระทำการโต้ตอบต่ออีกฝ่ายหนึ่งโดยอ้างว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้
  5. หากการกระทำโดยบันดาลโทสะพลาดไปถูกบุคคลที่สาม ถือว่าเป็นการข่มเหงบุคคลที่สามอย่างไม่เป็นธรรมแล้ว
  6. การพัวอยู่ในที่เกิดเหตุ อาจถือว่าเป็นการข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมได้

ตัวอย่าง
แดงเมาสุราเอาเท้าพาดหัวดำลูบเล่นแล้ววิ่งหนีไป ดำวิ่งไปติดตามแดงไปและใช้มีดแทงแดงโดยบันดาลโทสะ ปรากฏว่าแดงหลบทันทีมีดเลยพลาดไปถูกขาวบาดเจ็บ การที่ดำกระทำโดยพลาดไปถูกขาว แม้ดำจะอ้างบันดาลโทสะต่อขาวได้ แต่ก็ถือว่าดำข่มเหงขาวด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ทั้งนี้เพราะการกระทำของดำต่อขาวเป็นความผิดขาวจึงกระทำต่อดำโดยอ้างบันดาลโทสะได้เช่นกัน

การข่มเหงต้องเป็นเหตุให้ผู้กระทำบันดาลโทสะ

ข่มเหงเหตุให้บันดาลโทสะ

การข่มเหงต้องเป็นเหตุให้ผู้กระทำบันดาลโทสะ กล่าวคือ เกิดอารมณ์โกรธขึ้นมา และขาดการใช้เหตุผลควบคุมสติดังเช่นปกติธรรมดา ต้องพิจารณาจากจิตใจของผู้กระทำความผิดนั้นเอง

ตัวอย่าง
แดงภริยาดำหลงรักขาวและขาวไม่สมใจด้วย แดงจึงหาทางแกล้งขาว วันหนึ่งแดงโกหกดำว่า ขาวขึ้นไปปลุกปล้ำจะข่มขืนตนบนบ้าน ดำทราบคำบอกเล่าเกิดโทสะและไปฆ่าขาวตาย เช่นนี้ถือว่า คำบันดาลโทสะโดยสำคัญผิด

ตัวอย่าง
แดงแทงดำบาดเจ็บ ดำรู้ตัวทันทีว่าถูกแทงมีบาดแผลที่ปาก แต่ดำยังไม่เกิดโทสะ ต่อมาเมื่อกลับมาบ้าน ดำมาส่องกระจกดูเห็นปากแหว่งหมด จึงเกิดโทสะขึ้นมาและใช้มีดไล่ฟันแดงซึ่งอยู่บริเวณนั้นตาย เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ เพราะเมื่อทราบเหตุข่มเหงแล้วไม่โทสะเสียในตอนนั้น เมื่อมาโทสะทีหลังจะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้

ในขณะบันดาลโทสะ

ขณะบันดาลโทสะ

ในขณะบันดาลโทสะ หมายถึง ในระหว่างที่ยังบันดาลโทสะ
หลักในการวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำผิดในขณะบันดาลโทสะหรือไม่ต้องวินิจฉัยโดยเปรียบเทียบความรู้สึกของบุคคลทั่วไปในฐานะอย่างเดียวกับผู้กระทำ

ตัวอย่าง
นางขาวทราบว่านายดำสามีของตนไปอยู่กินฉันสามีของตนไปอยู่กินฉันสามีภริยากับนางสาวม่วงสัปดาห์ละ 2 ถึง 3 วัน วันเกิดเหตุนางขาวตามไปพบได้เห็นนายดำกับนางสาวม่วงอยู่ด้วยกันห้องครัวตามลำพังเพียง 2 คน โดนกำลังคลอเคลียพลอดรักกัน ถือว่านางขาวถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้ว แม้ว่านายดำและนางสาวม่วงจะไม่ทราบว่าขณะตนพลอดรักกันนั้น นางขาวจะเห็นเหตุการณ์ก็ตาม วินิจฉัยว่า นางขาวอ้างบันดาลโทสะได้ โดยไม่จำต้องเป็นกรณีนายดำและนางสาวม่วงจะต้องกระทำโดยมุ่งที่จะข่มเหงนางขาวโดยตรงแต่ประการใด

ดังนั้นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ถือว่าเป็นการกระทำความผิด เพียงแต่ศาลอาจเป็นเหตุลดโทษให้ผู้กระทำผิด

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด