ยืมรถไปชน ใครรับผิดชอบ

ยืมรถไปชน ใครรับผิดชอบ
ยืมรถจากเจ้าของรถแล้วปรากฏว่า ผู้ยืมได้ชนหรือถูกชน
ฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ถูกหรือผิดอย่างไรและใครต้องรับผิดชอบ

ยืมรถไปชน ใครรับผิดชอบ

ยืมรถไปชน ใครรับผิดชอบ

           ปกติแล้วเจ้าของรถที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะครอบครองรถโดยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อเป็นเจ้าของรถในเล่มทะเบียนรถ ซึ่งมักทำประกันรถยนต์ภาคบังคับตามแต่กรณี เมื่อเจ้าของรถยนต์ถูกญาติ หรือเพื่อน หรือคนรู้จักยืมรถเพื่อใช้ขับทำธุระหรืออื่นๆ ก็มักปฏิเสธไม่ให้ใช้ก็ไม่ได้ จึงต้องให้ยืมและให้ใช้โดยระมัดระวัง ยืมแล้วคืนตามกำหนด อย่าให้รถเป็นรอย อย่าขับไปชนนั้นเอง ซึ่งถ้าให้ยืมแล้วไม่เกิดปัญหาอะไรก็สบายใจกันทุกฝ่าย

            แต่ถ้าหากให้ยืมแล้ว เกิดปัญหาหละ อาทิเช่น ทำผิดกฎจราจร จอดในที่ห้ามจอด อื่นๆ ซึ่งใบสั่งจะถูกส่งมาที่เจ้าของรถตามเล่มทะเบียน และถ้าผู้ยืมรถไปใช้ไม่จ่าย ก็จะต้องเดือดร้อนมาที่เจ้าของรถที่ให้ยืม ส่วนกรณีที่เอาไปเฉี่ยวชน ถ้ามีประกันก็เคลมประกันไป แต่ตอนเอารถไปซ่อม เจ้าของรถก็ไม่มีรถใช้ ถ้าไม่มีประกันก็ต้องมาดูว่าใครถูกใครผิด ถ้าผู้ที่ยืมรถเป็นฝ่ายถูก ก็เรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีได้ แต่ถ้าผู้ที่ยืมรถเป็นฝ่ายผิด ผู้ที่ยืมรถต้องเป็นฝ่ายชดใช้ค่าเสียหาย เพราะผู้ใดทำละเมิด ผู้นั้นต้องชดใช้ค่าเสียหาย และถ้าผู้ยืมรถเอารถไปใช้แล้วขับรถชนคนตายแล้วไม่หนี ผู้ขับรถชนต้องรับผิดในเหตุนั้นและเจ้าของรถอาจโดนหมายเรียกตำรวจไปให้ปากคำตามกฎหมาย และหากผู้ที่ยืมรถไปชนแล้วหนี แน่นอนว่าเจ้าของรถตามเล่มทะเบียนรถดังกล่าวอาจโดนตำรวจออกหมายเรียกเพราะมีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถนั่นเอง

ผู้ใดทำละเมิด ผู้นั้นต้องชดใช้ค่าเสียหาย

      ถ้ายืมรถไปชน ใครรับผิดชอบ แน่นอนว่า “ ผู้ใดทำละเมิด ผู้นั้นต้องชดใช้ค่าเสียหาย ” ถ้าหากเจ้าของรถไม่มีประกันหรือเป็นประกันรถยนต์แบบระบุชื่อผู้ขับ ผู้ที่ยืมรถของคุณไปจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งค่าซ่อมรถและค่าเสียหายให้กับคู่กรณี แต่กรณีรถมีประกันแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับ แม้คนขับที่ยืมไปจะไม่ใช่เจ้าของรถก็สามารถเบิกพ.ร.บ.รถยนต์ได้ โดยพิจารณาจากฝ่ายใดถูกหรือผิดและคำนึงถึงผู้ขับขี่ขณะที่ขับชนมีใบขับขี่ด้วยหรือไม่ ดังนี้


ถ้าฝ่ายผู้ยืมและเจ้าของรถเป็นฝ่ายผิด เบิกอะไรได้บ้าง
– ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง)
– การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร


ถ้าฝ่ายผู้ยืมและเจ้าของรถเป็นฝ่ายถูก เบิกอะไรได้บ้าง
– ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่น ๆ
– การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร
– ชดเชยรายวัน ไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)

        ดังนั้นถ้ายืมรถไปชน ใครรับผิดชอบนั้น ถ้าฝ่ายเราถูกก็เรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีได้ แต่ถ้าฝ่ายเราผิด
ก็ต้องดูว่ารถมีประกันหรือไม่ เป็นประกันประเภทอะไร และผู้ขับไปชนมีใบขับขี่หรือไม่ ต้องรับผิดชอบเพียงใดนั่นเอง

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

ฟอกเงินแพ่งคืออะไร
ไม่มีหมวดหมู่
admin
ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย!

ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย! ฟอกเงินแพ่งคืออะไร

อ่านเพิ่มเติม »
หน้าปก-ความรุนแรงในครอบครัว
ทนายคดีครอบครัว
admin
คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ

คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ ความรุนแรงในครอบค

อ่านเพิ่มเติม »