ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจกำลังถดถอย ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีหลายกิจการที่ต้องปิดตัวลงไป แต่บางกิจการที่ได้รับผลกระทบบ้างอาจจะยังไม่ถึงขั้นต้องเลิกกิจการ อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ กิจการมีความจำเป็นที่จะต้องย้ายสถานประกอบการเพื่อลดต้นทุนการผลิตลง
เมื่อนายจ้างตัดสินใจที่จะย้ายสถานประกอบการเดิมไปยังที่แห่งใหม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิไม่ย้ายตามไปได้หรือไม่? แล้วจะส่งผลอย่างไร…เราจะเล่าให้ฟ้ง!!
ในเรื่องการย้ายสถานประกอบการนี้มีบัญญัติไว้อยู่ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 ซึ่งแต่เดิมนั้นเคยมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยในทำนองที่ว่าการย้ายสถานประกอบการต้องเป็นการย้ายจากที่เดิมไปที่ใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนเท่านั้น ไม่รวมถึงการย้ายไปรวมสาขาที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่ต่อมาแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานและแนวคำพิพากษาได้เปลี่ยนไปเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น โดยแนวทางนี้การย้ายสถานประกอบการมีได้ 2 กรณีคือ
1. การย้ายไป ณ สถานประกอบการแห่งใหม่
2. การย้ายไปสถานประกอบการแห่งอื่นของนายจ้าง
ดังนั้น การย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้างจึงอาจมีได้ทั้งกรณีที่นายจ้างย้ายไปประกอบกิจการ ณ ที่ใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่เลย หรืออาจเป็นการย้ายโดยปิดสาขาหนึ่งไปรวมกับอีกสาขาหนึ่งที่นายจ้างประกอบกิจการก็ได้ แต่ไม่รวมถึงกรณีที่นายจ้างโยกย้ายลูกจ้างจากสาขาหนึ่งไปทำงานอีกสาขาหนึ่ง โดยมิได้มีการปิดสาขาใดเลย ซึ่งเป็นอำนาจของนายจ้างที่สามารถโยกย้ายได้ตราบเท่าที่ไม่ทำให้ลูกจ้างเสื่อมประโยชน์และไม่ขัดกับสภาพการจ้างเดิม
โดยปรกติหากนายจ้างจะย้ายสถานประกอบกิจการนายจ้างจะต้อง
1. ปิดประกาศแจ้งการย้ายสถานประกอบกิจการไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้น ก่อนย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า 30 วัน
2. ในประกาศนั้นจะต้องแสดงรายละเอียดว่าลูกจ้างคนใดจะต้องย้ายไป ณ สถานที่ใด และเมื่อใด
ซึ่งเมื่อนายจ้างได้ปิดประกาศแล้วลูกจ้างมีสิทธิเลือกที่จะไม่ไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการใหม่ของนายจ้างก็ได้ หากการย้ายสถานประกอบกิจการนั้นกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปรกติของลูกจ้างหรือครอบครัว โดยแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ติดประกาศ
สิ่งที่อาจถือได้ว่ากระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างหรือครอบครัว เช่น
– สถานที่ใหม่อยู่คนละภูมิลำเนากับภูมิลำเนาเดิมของลูกจ้าง เช่น ย้ายจากกรุงเทพไปเชียงใหม่
– ไม่สะดวกในการเดินทาง ใช้เวลาเดินทางนานหรือลำบาก ไม่คุ้มค่ากับการเดินทาง
– อาจกระทบต่อครอบครัว เช่น ไปสถานที่ใหม่จะต้องอยู่ค้างแรม ไม่สามารถกลับมาเจอครอบครัวได้ตามปรกติ หรือต้องหาที่เรียนให้บุตรใหม่
– ส่งผลต่อสุขภาพของลูกจ้าง
หากลูกจ้างเลือกที่จะไม่ไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการใหม่ของนายจ้างแล้วให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่กฎหมายกำหนด (ค่าชดเชยที่กฎหมายกำหนดมีตั้งแต่ 30 วัน – 400 วัน ขึ้นกับระยะเวลาที่ลูกจ้างได้ทำงานให้แก่นายจ้าง)
สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ ลูกจ้างต้องแจ้งนายจ้างเป็นหนังสือภายในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้นลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ เสมือนหนึ่งว่านายจ้างเป็นผู้บอกเลิกสัญญา แต่หากลูกจ้างไม่แจ้งเป็นหนังสือตามมาตรานี้และไม่ยอมไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการใหม่ เท่ากับว่าลูกจ้างเป็นผู้บอกเลิกสัญญาจ้างเอง จะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแต่อย่างใด
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่