แบ่งสินสมรส ฟ้องได้เฉพาะหลังหย่าเท่านั้นหรือไม่ และอายุความเป็นอย่างไรบ้าง

อยากแบ่งสินสมรส  ต้องหย่าก่อนหรือไม่

จะฟ้องแบ่งสินสมรสก่อนหย่าได้หรือเปล่า 

วันนี้เรามีคำตอบครับ

แบ่งสินสมรส ฟ้องได้เฉพาะหลังหย่าเท่านั้นหรือไม่ และอายุความเป็นอย่างไรบ้าง

              สำหรับคู่สมรสหลาย ๆ คู่ที่อาจจะมีทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสเยอะ แต่กลัวว่าอีกฝ่ายจะเอาไปใช้จนหมดหรือใช้จนเกิดปัญหาขึ้นมา ซึ่งชีวิตคู่ก็โอเค ไม่ได้อยากหย่า กรณีแบบนี้จะสามารถฟ้องแบ่งสินสมรสโดยที่ไม่หย่าได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบครับ

ฟ้องแบ่งสินสมรส คืออะไร

                การฟ้องแบ่งสินสมรส ก็คือการฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสหรือทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่จดทะเบียนสมรสกัน ซึ่งสามีภรรยาต่างมีสิทธิในสินสมรสคนละครึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เรามักเข้าใจกันว่าจะขอแบ่งสินสมรสนั้นจะแบ่งได้เฉพาะในคดีที่ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสไปในคดีเดียวกัน หรือหย่ากันแล้วถึงฟ้องแบ่งสินสมรสได้ ผมขอบอกเลยว่าเราสามารถขอแบ่งก่อนหย่าหรือแบ่งโดยไม่มีการหย่ากันก็ได้นะครับ
ฟ้องขอแยกสินสมรสก่อนหย่าหรือไม่หย่ากัน

              แน่นอนว่าถ้ากฎหมายกำหนดให้ฟ้องแบ่งสินสมรสได้ในกรณีที่ต้องหย่ากันก่อนก็อาจจะเป็นการจำกัดมากเกินไปเพราะสินสมรสเป็นทรัพย์สินที่อาจจะหมดไปได้ กฎหมายจึงมีการกำหนดให้คู่สมรสสามารถฟ้องขอแบ่งสินสมรสโดยไม่ฟ้องหย่าได้ โดยเราจะเรียกว่า “การขอแยกสินสมรส”

เหตุในการขอแยกสินสมรส

            ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ จะไปขอแยกสินสมรสได้เลยนะครับ จะต้องมีกฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการฟ้องขอแยกสินสมรสโดยไม่ได้หย่าไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 ที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งสามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรสได้ในกรณีที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีพฤติการณ์ดังต่อไปนี้ครับ
1. จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
2. ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง
3. มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือก่อหนี้เกินครึ่งหนึ่งของสินสมรส
4. ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
5. มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส

              ซึ่งมาตรา 1484 ยังมีทางเลือกอีกทาง ถ้าไม่อยากขอแยกสินสมรส ก็อาจขอให้เราเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียวก็ได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับกรณีที่สินสมรสบางชิ้นถ้าแบ่งแล้วอาจจะมีปัญหาได้ครับ

Info - แบ่งสินสมรส ฟ้องได้เฉพาะหลังหย่าเท่านั้นหรือไม่ และอายุความเป็นอย่างไรบ้าง

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด