ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
บิดาแจ้งเกิดให้ใช้นามสกุล คือ การรับรองบุตรหรือไม่ ใบรับรองบุตร ทำได้อย่างไร
เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส แล้วบิดาแจ้งเกิดให้ใช้นามสกุลของบิดาปรากฏตามใบสูติบัตร คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าทำแบบนี้คือ รับรองบุตรแล้ว แท้จริงแล้วการแจ้งเกิดในสูติบัตรกับใบรับรองบุตรจะเป็นคนละกรณีกัน เพราะหมายถึง พ่อเป็นพ่อที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การรับรองบุตร เป็นการทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา มีอยู่ 3 วิธี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ได้แก่ 1.เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง 2.บิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร 3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ซึ่งการรับรองบุตรจากเหตุบิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตรนั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากมารดาและบุตร และบุตรต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป โดยให้บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตตามภูมิลำเนา โดยเจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองการใช้อำนาจปกครอง (กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรส) ส่วนกรณีที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร จะเป็นกรณีที่บิดาไม่สมัครใจยินยอม ไม่รับผิดชอบ หากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ให้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนรับรองบุตรเช่นกัน
การแจ้งเกิดในใบสูติบัตร โดยหลักแล้วเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาฝ่ายเดียว และมีสิทธิใช้นามสกุลของมารดา มารดาแจ้งเกิดโดยบุตรใช้นามสกุลของตนเอง หรือหากมารดาจะให้บุตรใช้นามสกุลของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบิดาเป็นผู้แจ้งเกิดกับทางการท้องถิ่น โดยให้ใช้นามสกุลของบิดา หรือบิดายินยอมให้บุตรนอกสมรสใช้นามสกุลของตนโดยเป็นการยินยอมทั้งสองฝ่ายนั่นเอง ก็จะขึ้นในใบสูติบัตรว่าใครเป็นผู้แจ้งเกิด และให้บุตรใช้นามสกุลของใคร
ถ้าหากมีเพียงการแจ้งเกิดในใบสูติบัตร แล้วมารดาสามารถเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากบิดาของบุตรได้หรือไม่ คือถ้าบิดาจ่ายเงินช่วยเหลือดูแลบุตร ก็มักไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้น แต่หากบิดาไม่ให้ความช่วยเหลือ ไม่จ่ายไม่ส่งเสียก็มักจะต้องฟ้องร้องให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรในเรื่องอำนาจปกครองและค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร หรือในบางเคส เนื่องจากว่าบุตรยังอายุไม่เกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ต้องใช้ประกอบเป็นหลักฐานในการขอวีซ่า/หนังสือเดินทางเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ หรือฝ่ายบิดาเป็นชาวต่างชาติ เพื่อขอวีซ่าประเภท NON IMMIGRANT-O ติดตามบุตรไทย 1 ปี เป็นต้น ซึ่งจะทำให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา หากมีเพียงแต่สูติบัตรในบางเรื่องกฎหมายก็ไม่รับรองให้ จำเป็นต้องฟ้องร้องต่อศาลหรือรอจนกว่าบุตรอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์นั้นเอง ตามข้างต้นครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่