การขอคุ้มครองชั่วคราว ในกรณีฉุกเฉิน

การขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน

ในการฟ้องคดีแพ่งนั้น เป็นการที่ผู้ฟ้องคดีหรือโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อต้องการให้ได้รับการชำระหนี้ หรือให้จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีกระทำการหรืองดกระทำการ หรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ แต่ในคดีแต่ละคดีต่างต้องใช้เวลาในการดำเนินคดีที่ยาวนาน ทางกฎหมายจึงให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอต่อศาลที่ฟ้องคดีเพื่อใช้วิธีการบางอย่างเพื่อป้องกันเหตุให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อไป ซึ่งวิธีการนี้ คือการขอคุ้มครองชั่วคราว

การขอคุ้มครองชั่วคราวนั้น โดยหลักสามารถขอได้ทั้งโจทก์และจำเลย โดยฝ่ายจำเลยนั้นเวลาถูกฟ้องคดีถ้าตนไม่ได้ฟ้องแย้งกลับโจทก์ จำเลยย่อมหวังเพียงให้ศาลยกฟ้องเท่านั้น ความสำคัญของจำเลยจึงอยู่แค่เพียงต้องการค่าธรรมเนียมที่ตนได้จ่ายไปแก่ศาล เมื่อศาลสั่งให้โจทก์จ่ายแทนจำเลยเมื่อโจทก์แพ้เท่านั้น การขอคุ้มครองชั่วคราวของจำเลยจึงเป็นเรื่องเพียงค่าธรรมเนียมศาลเท่านั้น แต่การขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์นั้น เป็นการที่คุ้มครองโจทก์เพื่อหวังผลว่า หากโจทก์ชนะคดี โจทก์จะได้รับผลตามคำพิพากษา การขอคุ้มครองของโจทก์ในทางกฎหมายจึงกำหนดลักษณะที่สามารถขอในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินได้ ตามที่มีบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 266 ถึงมาตรา 270

การขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน คือ

การขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินนั้น คือการที่มีเหตุบางประการที่จำเป็นเร่งด่วนหากให้รอให้มีการไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อมีคำสั่งไปแล้วจะไม่ทันที่จะคุ้มครองชั่วคราวแก่โจทก์ได้ โดยอาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับผลตามคำพิพากษาเมื่อโจทก์ชนะคดีต่อไป

ขอคุ้มครองชั่วคราว คือ

โดยการขอนั้นต้องขอโดยโจทก์ที่ฟ้องคดีหรือจำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้ง และเป็นการขอคุ้มครองชั่วคราวตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 เช่น การขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราว การขอห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป การขอห้ามมิให้จำเลยโอนขายยักย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเป็นการชั่วคราว หรือให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนใดๆ เป็นต้น

ส่วนวิธีการปฏิบัติในการขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินนั้น ต้องขอไปพร้อมกับคำขอคุ้มครองชั่วคราว และในคำร้องขอนั้นต้องบรรยายถึงเหตุฉุกเฉินที่มาขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินด้วย เช่น มีจะโอนขายที่ดินตามฟ้องที่เรียกคืน เป็นต้น

การขอคุ้มครองชั่วคราว

เมื่อมีการยื่นคำร้องไปยังศาลแล้ว ศาลจะพิจารณาถึงคำร้องทั้งสองคำร้อง(คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว และคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน) เมื่อศาลพิจารณาแล้วศาลจะให้โจทก์นำพยานเข้านำสืบทันทีหากเห็นว่าควรคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน แต่หากศาลไม่เห็นด้วยตามคำร้อง โดยหลักศาลจะยกคำร้องทั้งสองเสีย แต่หากศาลยกคำร้องใดคำร้องหนึ่งเพียงคำร้องหนึ่ง ย่อมอธิบายได้เช่นนี้คือ หากศาลยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินย่อมตกไปโดยปริยาย เนื่องจากคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินเป็นคำร้องสาขาขอคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว และหากศาลยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน ย่อมทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวฉบับที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วย(ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7140/2547) กล่าวสรุปได้ว่าหากศาลเพียงยกคำร้องใดคำร้องหนึ่งและไม่ได้สั่งไรเป็นพิเศษต่อไปย่อมถือเป็นการยกคำร้องทั้งสองคำร้องไปทันที และการยกคำร้องเช่นว่านี้ถือเป็นที่สุด โจทก์ไม่สามารถที่จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสาม

ต่อมาคือเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคร้องขอคุ้มครองชั่วคราวและคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน คำสั่งนั้นจะคุ้มครองโจทก์ไปตามคำขอ เช่น หากห้ามนายทะเบียนรับจดเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนคำสั่งนั้นมีผลบังคับทันที และแจ้งคำสั่งนั้นไปยังนายทะเบียนต่อไปการจดทะเบียนภายหลังมีคำสั่งหามิผลบังคับโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ เว้นแต่ผู้รับโอนจะพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก่อนที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะได้รับแจ้งคำสั่ง

เช่นนี้แล้ว กระบวนการคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน จึงมีความสำคัญแก่ผู้ที่มีฐานะเป็นโจทก์ เป็นการทำให้โจทก์สามารถได้รับผลตามคำพิพากษาเมื่อตนชนะคดีต่อไป

ขอบคุณที่ติดตาม หากบทความนี้มีประโยชน์โปรดแชร์เพื่อเป็นความรู้ต่อไป

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด