การจดทะเบียนรับรองบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตร
ต้องบอกก่อนเลยว่า “สูติบัตร” หรือที่เรียกว่าใบเกิด เป็นการที่พ่อแจ้งเกิดลูก และให้ลูกใช้นามสกุล ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นเอกสารคนละฉบับและต่างกัน ทำให้พ่อไม่มีสิทธิในเรื่องบุตร ซึ่งพ่อส่วนใหญ่ถือว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่ทำเอาหนักใจ เป็นกังวล เนื่องจากสิทธิของแม่หรือมารดาผู้ให้กำเนิดบุตรจะดีกว่าพ่อหรือบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 วางหลักไว้ว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น หรืออีกกรณีที่มีการสมรสแล้วแต่จดทะเบียนหย่ากันในภายหลังที่เพิ่งรู้ยังมีบุตรที่เกิดหลังหย่าร้าง บิดาก็ต้องจดทะเบียนรับรองบุตร เพื่อให้มีสิทธิในบุตรเช่นกัน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 วางหลักไว้ว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
การที่จะให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้น มี 3 วิธี
1. บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง ซึ่งมีผลนับตั้งแต่วันที่เกิด
2. บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร
ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากมารดาและบุตร ต่อหน้านายทะเบียน กรณีมีปัญหาเช่น เด็กอายุน้อยเกินไปไม่อาจรับรู้ได้ หรือมารดาเสียชีวิตแล้ว นายทะเบียนไม่สามารถจดทะเบียนรับรองบุตรได้จนกว่าจะมีคำสั่งศาล
3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา ซึ่งมีผลนับตั้งแต่วันที่เกิด
เอกสารที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนรับรองบุตร ตามข้อ 2. คือ
1. บัตรประจำตัวของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบิดา มารดา และบุตร
3. มารดาและบุตรต้องมาให้ความยินยอมด้วยตนเอง
4. คำพิพากษาของศาลกรณีมารดา หรือบุตรไม่ยินยอม
แต่ส่วนใหญ่แล้วมารดาจะไม่ยินยอม ให้บิดารับรองบุตร กรณีนี้จึงต้องมีการร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง เพื่อนำคำสั่งนั้นมาจดทะเบียนรับรองบุตรในภายหลัง
ซึ่งกรณีที่ท่านตกลงกันไม่ได้ สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติม หรือให้ทางทนายความของ MKC Legal ช่วยดูแลคดีให้ท่านได้เลยนะคะ
บริการเพิ่มเติม รับทำคดีรับรองบุตร
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!