ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#อธิบายให้ชัด
การรับมรดกแทนที่ คืออะไร?
โดยปกติการรับมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ลำดับในการรับก็จะเป็นไปตามที่กฎหมายมรดกกำหนดไว้ครับ ใครที่ไม่ใช่ทายาทตามกฎหมายก็จะไม่มีสิทธิรับมรดกเลย แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นถ้าทายาทในชั้นที่มีสิทธิรับมรดกตายก่อนเจ้ามรดก ทายาทที่ตายจะหมดสิทธิ์ในมรดกเลยหรือเปล่า ถ้าทายาทที่ตายมีลูกล่ะ ลูกของทายาทที่ตายจะสามารถเข้ามารับมรดกในส่วนนั้นได้หรือไม่ เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยครับ
ก่อนอื่นเรามาดูที่ลำดับในการรับมรดกตามกฎหมายมรดกกันก่อน กฎหมายได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งมีลำดับดังนี้
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
โดยลำดับตั้งแต่ 1-6 คือลำดับก่อนหลังในการรับมรดก เรียงตามผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนเป็นอันดับที่ 1 จนมาถึงผู้มีสิทธิได้รับมรดกหลังสุดคือลำดับที่ 6 ครับ
เรามาเข้าประเด็นหลักของเรากันดีกว่า การรับมรดกแทนที่ กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 ที่วางหลักไว้ว่า ทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายก่อนที่เจ้ามรดกจะตาย ถ้าทายาทคนนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานก็ตายเหมือนกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ต่อกันไปจนหมดสาย
ดังนั้น การรับมรดกแทนที่ก็คือ กรณีที่ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกตายก่อนเจ้ามรดก และทายาทที่ตายก่อนนั้นมีผู้สืบสันดาน กฎหมายกำหนดให้ผู้สืบสันดานเข้ามารับมรดกแทนที่ทายาทที่ตายก่อนได้
อาจจะเข้าใจยากสักนิดนึงใช่ไหมครับ งั้นเดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างให้ดูนะครับ
นาย A มีลูก 2 คนคือ นาย ก. กับ นางสาว ข. โดยนาย ก. ก็มีลูกอีก 1 คนก็คือ นายหนึ่ง เราจะให้เจ้ามรดกเป็น นาย A นะครับ สมมติว่า ถ้านาย ก. ตายก่อนนาย A ซึ่งนาย ก. มีฐานะเป็นผู้สืบสันดานของนาย A ตามมาตรา 1629 (1) จึงเป็นกรณีที่จะต้องมีการรับมรดกแทนที่ ต้องไปดูว่า นาย ก. มีผู้สืบสันดานหรือไม่ กรณีนี้ นาย ก. มีนายหนึ่งเป็นผู้สืบสันดาน เมื่อนาย ก. ตายก่อนเจ้ามดรก นายหนึ่งจึงมีสิทธิเข้ามารับมรดกแทนที่ นาย ก. นั่นเองครับ สมมติต่อไปว่าถ้านายหนึ่งก็ตายแล้ว ก็ต้องดูว่านายหนึ่งมีผู้สืบสันดานหรือเปล่า ถ้ามีก็เข้าไปรับแทนแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ครับ
สรุปก็คือ พอนาย A ตาย ปกติก็ต้องแบ่งมรดกโดยหารเท่ากันระหว่างนาย ก. กับนางสาว ข. แต่พอนาย ก. ตายก่อนเจ้ามรดก นายหนึ่งที่เป็นผู้สืบสันดานของนาย ก. ก็จะเข้ามารับมรดกแทนที่นาย ก. สมการการแบ่งก็จะเป็นนายหนึ่งกับนางสาว ข. หารเท่ากันนั่นเองครับ
กฎหมายกำหนดให้ทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) และ (6) เท่านั้นที่จะให้ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นรับมรดกแทนที่ได้ เพราะฉะนั้น ทายาทตามมาตรา 1629 (2) บิดามารดา และ (5) ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ถึงจะตายก่อนเจ้ามรดก แต่ก็จะไม่มีการรับมรดกแทนที่นั่นเองครับ กฎหมายกำหนดให้ทายาทในลำดับเดียวกันที่ยังอยู่ได้รับส่วนแบ่งของทายาทที่ตายทั้งหมด เช่น ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกคือ ทายาทชั้นบิดามารดาตามมาตรา 1629 (2) แต่บิดาตายก่อน ส่วนมารดายังอยู่ ส่วนแบ่งของบิดาจะไม่มีการรับแทนที่ แต่จะตกแก่มารดาทั้งหมดนั่นเองครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้รู้กันแล้วใช่ไหมว่า ถึงแม้ทายาทผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกจะตายก่อนเจ้ามรดกก็ตาม แต่ถ้าทายาทนั้นมีลูกหรือผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นก็สามารถเข้ามารับมรดกแทนที่ทายาทที่ตายได้นั่นเองครับ อีกอย่างคือการรับมรดกแทนที่ใช้แค่กับทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 เท่านั้น จะไม่มีกรณีการรับพินัยกรรมแทนที่ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่