ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
หากต้องการวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้
ก่อนหนี้ถึงกำหนด
เมื่อได้วางทรัพย์ตามแต่ละกรณี ผลเป็นอย่างไร
การวางทรัพย์ คือ วิธีชำระหนี้ที่กฎหมายกำหนดขึ้นเมื่อการชำระหนี้มีอุปสรรคอันเกิดจากตัวเจ้าหนี้ โดยผู้วางทรัพย์ได้นำเงินหรือทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวาง ณ สำนักงานบังคับคดี ซึ่งผลของการวางทรัพย์ ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด ผิดสัญญา ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน หรือเบี้ยปรับ และเจ้าหนี้จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ไม่ได้ การไถ่ถอนการขายฝาก โดยการวางทรัพย์ทำให้ได้กรรมสิทธิ์กลับมาสู่ผู้วางทรัพย์
1.เจ้าหนี้บอกปัด หรือปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันอ้างตามกฎหมายได้ เช่น สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าต้องการชำระเงินตามสัญญาเช่า แต่ผู้ให้เช่าไม่อยากให้ต่อสัญญา จึงปฏิเสธไม่รับเงินค่าเช่า เพื่อผู้ให้เช่าจะถือเอาเหตุบอกเลิกสัญญาเช่า
2.เจ้าหนี้ไม่สามารถรับชำระหนี้ได้ เช่น เจ้าหนี้ไปต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ หรือหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ หรือต้องขังอยู่ในเรือนจำ
3.ลูกหนี้ไม่สามารถหยั่งรู้สิทธิของเจ้าหนี้ หรือรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอน เช่น ลูกหนี้ไปทำสัญญาเช่ากับ นาง ก. ต่อมานางก.ตาย ทายาทของนาง ก. ต่างเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระค่าเช่าให้แก่ตน โดยอ้างว่าตนมีสิทธิในการรับเงินค่าเช่า ลูกหนี้จึงไม่อาจรู้ได้ว่าจะต้องชำระหนี้กับใครระหว่างทายาท
1.การไถ่ถอนการขายฝาก โดยนำทรัพย์อันเป็นสินไถไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนทรัพย์คืน ตามปพพ.มาตรา 492
2.การเรียกร้องให้นำเงินจำนวนหนึ่งไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ แทนทรัพย์สินที่ทำลายหรือบุบสลาย ที่ยังมิได้ส่งมอบแก่ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิคนอื่น ตามปพพ.มาตรา 232
3. การชำระหนี้อันจะแบ่งชำระไม่ได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกให้ลูกหนี้วางทรัพย์ที่เป็นหนี้นั้นไว้เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้หมดทุกคนก็ได้ ตามปพพ.มาตรา 302
4.ผู้ขนส่งมีอำนาจที่จะเอาของไปฝากไว้ ณ สำนักงานฝากทรัพย์ได้ ตามปพพ.มาตรา 631
5.เจ้าสำนักโรงแรมเอาทรัพย์ที่ยึดหน่วงขายทอดตลาดหลังหักใช้หนี้ดังกล่าวแล้ว มีเงินเหลือเท่าใดต้องคืนให้แก่เจ้าของ หรือฝากไว้ ณ สำนักงานฝากทรัพย์ ตามปพพ.มาตรา 679
6.เมื่อลูกหนี้ต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับจำนำและผู้จำนำร่วมกัน ถ้าเขาทั้งสองไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ละท่านชอบที่จะเรียกให้วางเงินจำนวนนั้นไว้ ณ สำนักงานฝากทรัพย์ได้เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน ตามปพพ.มาตรา 745
7.ถ้าตั๋วแลกเงินมิได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด ผู้รับรองจะเปลื้องตนให้พ้นจากความรับผิด โดยวางเงินที่ค้างชำระตามตั๋วนั้นก็ได้ ตามปพพ.มาตรา 947
8.การวางเงินค่าทดแทนตามพรบ.ว่าด้วยการเวนคืนและได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562
9.ตามคำสั่งศาล เช่น การคุ้มครองชั่วคราว ตามป.วิแพ่ง มาตรา 264
ผู้มีสิทธิวางทรัพย์ ได้แก่ ลูกหนี้ หรือผู้รับมอบอำนาจลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกที่เต็มใจชำระหนี้แทนลูกหนี้ เว้นแต่ สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระแทนได้ หรือขัดกับเจตนาที่คู่กรณีแสดงไว้และจะต้องไม่เป็นการฝืนใจหรือขัดใจลูกหนี้
1.ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระ ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้หลังจากวันที่วางทรัพย์
2.เจ้าหนี้มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วาง ภายใน 10 ปี นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับสิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ที่วางเป็นอันระงับไป
การถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วาง ผู้วางทรัพย์อาจถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วางคืนได้ เว้นแต่
1.ผู้วางทรัพย์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิ์ที่จะถอนไว้
2.เจ้าหนี้ได้แจ้งต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าจะรับทรัพย์ที่วางนั้นแล้ว
3.การวางทรัพย์ตามคำสั่งศาล
4.ผู้วางทรัพย์อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีล้มละลาย
5.หากบุคคลใดวางทรัพย์ชำระหนี้แทนลูกหนี้ บุคคลนั้นจะถอนการวางทรัพย์ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ยินยอม
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่