ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
การเลิกจ้างลูกจ้างคนนึงไม่ใช่ว่านายจ้างอยากเลิกจ้างก็จะเลิกได้เลยเพราะในเรื่องนี้มีกฎหมายเข้าควบคุมดูแลอยู่ครับสำหรับความรู้ในวันนี้ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับนายจ้างและลูกจ้างเลย ตัวนายจ้างก็จะไม่ทำผิดกฎหมาย ส่วนลูกจ้างก็จะได้รู้ว่าอะไรไม่ควรทำ หรือรู้ว่าการที่นายจ้างเลิกจ้างเรามันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เราไปเข้าเนื้อหากันเลยครับ
ก่อนที่เราจะไปดูกฎหมายแต่ละตัวอื่นในการจ้างแรงงานก็จะต้องมีสัญญาจ้างแรงงานใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นก็จะต้องดูที่ตัวสัญญาจ้างแรงงานก่อนว่ามีการเขียนเกี่ยวกับการเลิกจ้างไว้ว่ายังไงบ้าง คือในสัญญาอาจจะมีการกำหนดให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้เพราะเหตุต่อไปนี้ก็ว่าไปตามที่สัญญากำหนดไว้ครับ เพราะทั้งสองฝ่ายทั้งลูกจ้างและนายจ้างก็ต้องผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงานนั้นครับ และหากเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้าง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสัญญาก็จะสิ้นสุดไปครับ และโดยหลักในสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา แต่ละฝ่ายไม่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบที่จะกำหนดได้ครับ
ถ้าสัญญาไม่ได้กำหนดไว้ชัด เราก็ต้องดูต่อไปที่ตัวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องสัญญาจ้างแรงงานซึ่งกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการเลิกจ้างไว้ในมาตรา 583 โดยผมจะลิสต์ออกมาให้เห็นกันชัดๆ ตามนี้ครับ
นายจ้างจะไล่ลูกจ้างออกโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้โดยอาศัยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1 ลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยการขัดคำสั่งนี้จะต้องเป็นคำสั่งหรือเป็นเรื่องที่มีความร้ายแรงด้วยครับ
2 ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ กรณีนี้อาจจะเป็นเรื่องที่เล็กน้อย แล้วไม่สนใจและทำติดต่อกันบ่อยๆ
3 ละทิ้งการงาน
4 กระทำความผิดอย่างร้ายแรง กรณีนี้เป็นการกำหนดไว้แบบกว้างๆ ครับ คือหากไม่เข้าข้อ 1 2 3 และ 5 ก็อาจจะมาเข้าข้อนี้ได้ เช่น ลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของนายจ้าง ทำร้ายนายจ้าง หรือเอาความลับของนายจ้างไปเปิดเผย เป็นต้นครับ
5 ทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
อีกทั้งยังมีการบัญญัติเกี่ยวกับการเลิกจ้างไว้อีกในมาตรา 577 และ 578 โดยมาตรา 577 กำหนดว่าหากนายจ้างจะโอนสิทธิการเป็นนายจ้างให้แก่บุคคลภายนอกได้ แต่ลูกจ้างต้องยินยอมด้วย หากลูกจ้างไม่ยินยอม ลูกจ้างก็สามารถบอกเลิกสัญญาได้ และเช่นกันลูกจ้างจะให้บุคคลภายนอกทำงานแทนตนก็ได้ แต่นายจ้างก็จะต้องยินยอมด้วย หากนายจ้างไม่ยินยอมแล้วลูกจ้างให้คนอื่นมาทำงานแทน นายจ้างก็สามารถเลิกสัญญาหรือเลิกจ้างได้ครับ
ส่วนในมาตรา 578 กำหนดกรณีที่ในเวลาที่ทำสัญญาถ้าลูกจ้างรับรองโดยแสดงออกชัดเจนหรือโดยปริยายว่าเป็นผู้มีฝีมือพิเศษ หากต่อมาปรากฏว่าไร้ฝีมือ นายจ้างก็สามารถเลิกสัญญาได้ครับ คือกรณีนี้เป็นการไปหลอกนายจ้างว่ามีความสามารถเป็นพิเศษเพื่อให้เขารับตนเข้าทำงานนั่นแหละครับ พอเจอว่าจริงๆ ไม่ใช่ นายจ้างก็เลิกจ้างได้ครับ
และกฎหมายอีกตัวที่ต้องดูก็คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 โดยในเรื่องการเลิกจ้างนั้นกฎหมายนี้กำหนดหลักการสำคัญๆ ไว้อยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือ ในมาตรา 49 ที่การเลิกจ้างต้องเป็นธรรมคือการเลิกจ้างนั้นจะต้องมีเหตุผล มีความจำเป็นและต้องเป็นธรรมแก่ลูกจ้างด้วย หากศาลเห็นว่าไม่เป็นธรรม ศาลสามารถสั่งให้กลับเข้าทำงานตามเดิมหรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายก็ได้
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่