ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ถ้ามีลูกด้วยกันโดยจดทะเบียนสมรส หรือ
ถ้ามีลูกด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส
ต่อมาอีกฝ่ายกีดกันไม่ให้เจอลูก
ฝ่ายที่โดนกีดกันจะทำอย่างไร
เมื่อพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกันแล้วมีลูกด้วยกัน ต่อมาเกิดมีปัญหาภายในครอบครัว แล้วอีกฝ่ายนำลูกไปโดยกีดกันไม่ให้เจอลูก ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองบุตรยังเป็นของพ่อและแม่ที่ปกครองบุตรร่วมกัน ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการให้อำนาจบุตรอยู่ที่ตนแต่ฝ่ายเดียว เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงมักฟ้องศาลเพื่อขออำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว หรือ
ถ้าพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ตามมาตรา 1546 เมื่อต่อมาเกิดมีปัญหาภายในครอบครัว แล้วฝ่ายชายนำลูกหนีไปโดยกีดกันไม่ให้ฝ่ายหญิงเจอลูกเลย ซึ่งฝ่ายหญิงสามารถแจ้งตำรวจในท้องที่ เพื่อให้ตำรวจติดตามนำเด็กมาส่งคืนให้แก่แม่ได้ ในส่วนนี้จะอยู่ที่ดุลพินิจตำรวจที่จะรับเรื่องให้ด้วย หรือถ้าทางตำรวจไม่รับเรื่องอาจแนะนำให้ฟ้องศาลเพื่อให้ท่านขออำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว หรือ
ถ้าพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาฝ่ายหญิงมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก เช่นติดการพนัน ทำร้ายร่างกาย ไม่ทำงาน หรือพฤติกรรมอื่นๆ ไม่ให้ฝ่ายชายพบลูก แนะนำให้ฝ่ายชายไม่ควรนำลูกมาอยู่ที่บ้านตนทันที เพราะมารดามีสิทธิเรียกบุตรคืน ตามมาตรา 1567 (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และอาจทำให้เวลาในการฟ้อง รูปคดีอาจเสียได้ เพราะอีกฝ่ายอาจยกเป็นข้ออ้างได้
ซึ่งเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดนกีดกันไม่ให้พบลูก ถ้าเป็นกรณีจดทะเบียนสมรสกันแล้ว มักจะหย่าขาดกันแล้วหรือกำลังจะหย่า แล้วยังไม่ตกลงเรื่องการปกครองบุตรและค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จึงนำข้อเท็จจริงหลักฐานมาปรึกษาทนาย เช่น ถ้ากำลังจะหย่าตกลงกันได้ ให้ทำบันทึกข้อตกลงแนบท้ายใบหย่าด้วย หรือถ้าหย่าขาดไปแล้ว จะฟ้องศาลเพื่อขออำนาจปกครองบุตรแต่ฝ่ายเดียวจากพฤติการณ์ใด ซึ่งศาลจะเรียกอีกฝ่ายมาไกล่เกลี่ย ถ้าคุยกันได้จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกัน หรือถ้าอีกฝ่ายไม่มาอาจจะพิพากษาตามฟ้อง ตามแต่กรณี
ถ้าเป็นกรณีไม่จดทะเบียนสมรส ส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะฟ้องศาลเพื่อขออำนาจปกครองบุตรแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฝ่ายหญิงมักจะฟ้องศาลเพื่อให้อำนาจบุตรอยู่ที่ฝ่ายหญิงแต่ฝ่ายเดียวโดยได้เช่นกัน หรือฟ้องศาลให้ฝ่ายชายรับรองบุตรและให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร โดยใช้อำนาจในการปกครองอาจร่วมกัน หรือฝ่ายหญิงใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ฝ่ายเดียว ตามแต่ตกลงกัน โดยที่ฝ่ายหญิงจะไม่กีดกันฝ่ายชายในการพบบุตร
เมื่อศาลพิพากษาแล้ว ถ้ายังถูกกีดกันก็สามารถใช้สิทธิทางศาล เพื่อบังคับให้อีกฝ่ายปฏิบัติตามคำสั่งศาล โดยให้ติดต่อลูกได้เช่นเดียวกัน ซึ่งต่อให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแล้ว ก็ไม่ได้ห้ามให้อีกฝ่ายหนึ่งติดต่อลูกไม่ได้ ตามมาตรา 1584/1 บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่