ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
กรณีเจ้าของที่กีดกันไม่ให้ใช้ทางภาระจำยอม
ผู้ใช้ทางภาระจำยอมจะสามารถเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางได้หรือไม่
และหากตกลงกันไม่ได้ ยังสามารถใช้ทางภาระจำยอมได้อีกหรือเปล่า
ทางภาระจำยอม คือ การใช้ทางเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ แม้มีทางออกอื่นที่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้แล้วก็ตาม อาจเป็นการได้ทางภาระจำยอมมาโดยนิติกรรมโดยการจดทะเบียนทางภาระจำยอมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้มาโดยผลของกฎหมายโดยการครอบครองปรปักษ์เกิน 10 ปี
ถ้ามีการได้ทางภาระจำยอมมาโดยนิติกรรมโดยการจดทะเบียนทางภาระจำยอมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วต่อมาปรากฏว่า เจ้าของที่ดินที่มีการให้ทางภาระจำยอมได้แสดงเจตนาไม่ให้ใช้ทางภาระจำยอมเช่น ปิดทางภาระจำยอม , นำสิ่งของตั้งกีดขวางทางภาระจำยอม หรือกีดกันไม่ให้ใช้ทางภาระจำยอมได้อีก หรือวิธีอื่นใด โดยอ้างว่าไม่มีการใช้ทางภาระจำยอมกันแล้ว มีการใช้ทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะแล้ว หรือกรณีอื่นๆ แล้วสามยทรัพย์หรือผู้ที่ใช้ทางภาระจำยอมจะทำอย่างไร หรือ
ถ้ามีการใช้ทางติดต่อมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้วปรากฏว่าเจ้าของที่ดิน ไม่ต้องการให้ใช้ทางอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นทาง นำสิ่งของตั้งกีดขวางทาง หรือกีดกันไม่ให้ใช้ทาง ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม ทำให้ผู้ใช้ทางไม่สามารถใช้ทางได้ตามปกติ ผู้ใช้ทางต้องฟ้องต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ทางดังกล่าวเป็นทางภาระจำยอมโดยผลของกฎหมาย และหากว่าผู้ใช้ทางได้ใช้ทางภาระจำยอมโดยนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าของที่ดินที่มีการให้ใช้ทางภาระจำยอมมีการกีดขวางทางภาระจำยอมอีก สามารถนำคำพิพากษามาบังคับดำเนินคดีต่อได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความความสะดวก
กล่าวคือ เมื่อได้มีการจดทะเบียนการใช้ทางภาระจำยอมมาแล้ว ห้ามมิให้เจ้าของภารยทรัพย์(เจ้าของที่ดิน)ประกอบกรรมใดๆอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดลดไป หรือเสื่อมไป เช่น ถ้ามีการให้ทางภาระจำยอมเป็นทางเดิน ก็ไม่ควรนำสิ่งของมากีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นการใช้ทาง หรือให้ใช้ทางภาระจำยอมเป็นทางเดินรถ ก็ไม่ควรปิดกั้นทาง ตั้งสิ่งของกีดขวางทาง หรือตั้งร้านค้าแผงลอย หรือถ้ามีการให้ใช้ทางภาระจำยอมเป็นทางเดินน้ำ ทางเดินไฟฟ้า ก็ไม่ควรไปรื้อ หรือปิดกั้นไม่ให้ผู้ใช้ทาง หรือเจ้าหน้าที่ ที่มาดูมิเตอร์ไม่สามารถเข้าดูโดยสะดวกได้ หรือในบางกรณีมีการต่อเติมซ่อมแซมบ้าน ได้มีการตั้งสิ่งของชั่วคราวที่ทางภาระจำยอมแล้วเมื่อก่อสร้างเสร็จก็ไม่ยอมขนย้าย และไม่อนุญาตให้เรามาหยิบจับขนย้ายโดยพลการได้เพราะไม่ต้องการให้เราใช้ทาง เป็นต้น กรณีที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เป็นสิ่งที่เจ้าของที่ดินไม่ควรกระทำเมื่อทางภาระจำยอมยังไม่เลิกกัน เพราะถ้าหากเจอเหตุการณ์ดังกล่าวแล้วตกลงกันไม่ได้ ผู้ใช้ทางไม่ควรไปเคลื่อนย้ายเองหรือกระทำการเอง ให้ปรึกษาทนายเตรียมฟ้องศาล เพื่อให้มีการเปิดใช้ทางภาระจำยอมชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาตามแต่กรณี จนกว่าศาลจะพิพากษา เพื่อให้ศาลพิพากษาตัดสินให้เจ้าของที่ดินไม่กระทำการกีดขวางทางภาระจำยอมอีกและให้ขนย้ายสิ่งของหรือรื้อออกให้ทางอยู่ในสภาพเดิม เป็นต้น
ในขณะเดียวกันถ้าผู้ใช้ทางไม่ได้ใช้ทางภายใน 10 ปีจริง เจ้าของที่ดินพิสูจน์ได้ เมื่อเจ้าของที่ดินฟ้องศาล ศาลอาจสั่งเพิกถอนทางภาระจำยอม ตามมาตรา 1399 ได้ตามแต่กรณี
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่