ขายฝากที่ดินยังไง ไม่ให้โดนโกง

ขายฝากที่ดินยังไง ไม่ให้โดนโกง

                    ขายฝากที่ดิน หรือ สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง โดยการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ.2562 โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อทันทีเมื่อมีการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน โดยผู้ซื้อฝากจะได้รับประโยชน์ในรูปแบบดอกเบี้ย โดยกำหนดไว้ไม่เกิน 15 % ต่อปี และได้รับเงินต้นและดอกเบี้ยคืนทันทีเมื่อผู้ขายฝากที่ดินนำเงินไปไถ่ถอนที่ดินคืนตามข้อตกลงในสัญญา

                  ซึ่งหากกรณีเมื่อครบกำหนดตามสัญญาขายฝากที่ดินแล้ว ปรากฏว่าผู้ขายฝากยังไม่พร้อมไถ่ถอนคืน ซึ่งสามารถขอต่อสัญญาได้จนกว่าจะครบตามสัญญาหรือตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งระยะเวลาขายฝากที่ดิน กฎหมายกำหนดห้ามต่ำกว่า 1 ปีหรือกำหนดสูงสุด ไม่เกิน 10 ปี ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหมายรวมถึงที่ดิน และ 3 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์

การขายฝากที่ดิน

                  การขายฝากที่ดิน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่ต้องการเปลี่ยนทรัพย์สินที่ดินเป็นเงิน แต่ไม่ต้องการขายขาด ซึ่งตอบโจทย์ผู้ขายฝากที่ต้องการเงินด่วน และสามารถไถ่คืนได้ภายหลัง แต่ในบางครั้งการขายฝากที่ดิน ก็ไม่การันตีได้ว่า ที่ทำนิติกรรมขายฝากไปจะไม่โดนโกง

ขายฝากที่ดินยังไง ไม่ให้โดนโกง

 1.ดูรายละเอียดในข้อสัญญาให้ดี สาระสำคัญของสัญญา เช่น จะต้องระบุชื่อและที่อยู่คู่สัญญา , มีการแสดงรายการและลักษณะทรัพย์สิน ราคาที่ขายฝาก, จำนวน     สินไถ่ที่ต้องไถ่คืน , ระบุวันที่ขายฝากและวันที่ครบกำหนดไถ่คืน และอีกประเด็นสำคัญ คือ การคิดดอกเบี้ย ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี หรือต่อเดือนไม่เกิน 1.25% ต่อ         เดือน ซึ่งถ้าเกินไปจากนี้ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ควรทำสัญญาด้วย

  1. การทำสัญญาขายฝากที่ดินจะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น ถ้ามีการทำที่อื่น ที่ไม่ใช่กรมที่ดิน ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าอาจโดนโกง
  2. มีการเพิ่มดอกเบี้ยระหว่างการขายฝาก เช่น ในปีแรกมีการเสนออัตราดอกเบี้ยถูก ในอัตราร้อยละ 8,% 9%, 10% ต่อปี และเมื่อหลงทำธุรกรรมแล้ว บังคับเก็บเพิ่มในปีต่อๆไป ทำให้มีภาระดอกเบี้ยที่สูงมาก เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
  3. กรณีการติดต่อผ่านนายหน้า ไม่ใช่ผู้ซื้อฝากโดยตรง โดยนายหน้ามีการปิดปัง ไม่แสดงรายละเอียด ช่องทางติดต่อให้ทราบ ทำให้ไม่สามารถคุยกับผู้ขายฝากได้โดยตรง ซึ่งให้ระวังนายหน้าอาจหลอกให้เพิ่มดอกเบี้ยทั้งๆที่นายทุนอาจเก็บต่ำ แต่มาเรียกเก็บจากผู้ฝากขายสูงขึ้น แล้วยักยอกส่วนต่างเข้าตัวเอง , บังคับเก็บค่าต่อสัญญา หรือบังคับเปลี่ยนนายทุนเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม โดยที่ไม่สามารถโต้แย้งสิทธิได้
  4. ให้ระวังค่าใช้จ่ายแอบแฝง ที่หลอกให้จ่ายในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้ทำสัญญาระยะสั้น แล้วเรียกเก็บค่าต่อสัญญาในภายหลัง หรือค่าเดินทาง ค่าเอกสาร ที่แพงเกินจริง เป็นต้น

                   การขายฝากที่ดิน เพื่อนำเงินมาใช้ด่วนแล้วไถ่คืนในภายหลัง เป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียว แต่ก็ควรศึกษาข้อกฎหมายและรายละเอียดอื่นๆก่อนการขายฝากที่ดิน ให้ขายฝากที่ดินยังไง ไม่ให้โดนโกงค่ะ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด