คดีอาญาที่ยอมความได้ มีอะไรบ้าง

ความผิดอาญาฐานใด

ยอมความได้!!

คดีอาญาที่ยอมความได้ มีอะไรบ้าง

              ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความผิดต่อแผ่นดิน และ ความผิดต่อส่วนตัว โดยความผิดต่อส่วนตัวหรือที่หลายคนอาจจะรู้จักในชื่อความผิดที่ยอมความได้ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายฐานความผิด แต่จะจำไปทำไมเพราะวันนี้เรามากับคอนเทนต์เบาๆ ที่รวบรวมฐานความผิดที่ยอมความได้ให้ทุกคนกดเซฟภาพ info ของเราเก็บไว้ได้เลย

         สำหรับใครที่ไม่อยากรู้แค่ฐานความผิด แต่อยากรู้ว่าความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดที่ยอมความได้คืออะไร ถ้าอยากรู้ตามมาเลยครับ

ความผิดต่อส่วนตัว

          ความผิดต่อส่วนตัว หรือ ความผิดอันยอมความได้ คือ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่ความเสียหายเกิดขึ้นกับเอกชนเป็นการส่วนตัว หรือก็คือ ผู้เสียหายมีแค่เอกชน ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือแผ่นดิน แน่นอนว่าจะต้องแตกต่างจากความผิดต่อแผ่นดินที่รัฐเป็นผู้เสียหายหลักนั่นเอง ซึ่งในความผิดอันยอมความได้นี้กฎหมายจะกำหนดไว้ชัดเจนเลยครับว่า ความผิดฐานนี้หรือความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดที่สามารถยอมความได้

            ดังนั้น เมื่อความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้กฎหมายจะกำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าเป็นความผิดที่ยอมความได้ กลับกันความผิดฐานไหนที่ไม่ได้บอกว่าเป็นความผิดที่สามารถยอมความได้ ความผิดฐานนั้นหรือความผิดในหมวดนั้นก็จะเป็นความผิดต่อแผ่นดินที่ไม่สามารถยอมความได้นั่นเอง

             ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดที่ยอมความได้ ถ้าฝ่ายโจทก์หรือผู้เสียหายฟ้องคดีแล้วถอนฟ้อง หรือไปแจ้งความร้องทุกข์แล้วต่อมาได้ไปถอนคำร้องทุกข์ หรือทั้งสองฝ่ายเจรจาตกลงยอมความกันถูกต้องตามกฎหมาย จะส่งผลให้สิทธิในการนำคดีนั้นมาฟ้องระงับไป หรือไม่สามารถนำเรื่องนั้นมาฟ้องได้อีกแล้วนั่นเอง ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) เลยครับ

            และนี่ก็คือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่ยอมความได้ ถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความกันถูกต้องเมื่อไหร่ คดีอาญาระงับทันที นำมาฟ้องใหม่ไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำนั่นเองครับ

Info - คดีอาญาที่ยอมความได้ มีอะไรบ้าง

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด