คดีแพ่ง 8

รวมบทความ บทวิเคราะห์กฎหมาย และความรู้เกี่ยวกับคดีแพ่งที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านเพื่อเป็นความรู้ติดตัว หรืออ่านเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันของท่านทั้งหลาย

71

คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ผิดกฎหมายอะไร

 ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยมีกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี และหากมีการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะผิดกฎหมายอะไร

72

กรรมสิทธิ์ห้องชุดต่างจากโฉนดที่ดินอย่างไร

ห้องชุด หรือคอนโด เมื่อเรามีการทำสัญญาซื้อห้องชุดหรือคอนโด เราจะได้ “หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหรือ อ.ช. 2” โดยระบุในสัญญาซื้อขายไว้ว่าเราคือ เจ้าของร่วม ของโครงการนั้นๆ แต่ถ้าเป็นการซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม จะมีการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การถือจากเดิมที่เป็นบริษัทที่ทำโครงการ เป็นชื่อเราซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เราจะเรียกว่า “โฉนด” ซึ่งแค่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ก็ต่างกัน เพราะแสดงความเป็นเจ้าของว่าเราครอบครองส่วนไหนนั่นเอง

73

ซื้อรถมือสองแล้วมีปัญหา ต้องทำอย่างไร!?

ใครกำลังจะซื้อรถมือสองต้องรู้!! ซื้อรถมือสอง แน่นอนว่าเป็นรถที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ไม่ว่าจะขับไปใกล้หรือไกล มันก็คือรถที่ใช้แล้ว ซึ่งรถมือสองบางคันก็อาจจะมีการใช้มาเป็นเวลานาน ผ่านการพัง ผ่านการซ่อม จนนำมาขายต่อ และบางทีเราก็ไม่อาจรู้ได้ว่ารถคันนั้นผ่านอะไรมาบ้าง เพราะฉะนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าซื้อรถมือสองก็อาจจะเจอรถที่มีปัญหาหรือพังจนต้องซ่อมอีก วันนี้เราเลยนำความรู้เกี่ยวกับรถมือสองมาฝากกันว่า ถ้าซื้อรถมือสองมาแล้วมีปัญหาหรือพัง จะต้องทำยังไง

74

สัญญาธุรกิจ มีขั้นตอนการร่างสัญญาอย่างไร

สัญญาเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย เป็นการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อแสวงหาผลกำไรโดยเข้าผูกพันตนตามสัญญา “สัญญาธุรกิจ (Commercial Contract)” คือ การทำสัญญาผูกพันในด้านการค้าขายและการให้บริการ ขึ้นอยู่กับประเภทของสัญญาที่ทำขึ้นว่ามีวัตถุประสงค์เช่นไร โดยมีเรื่องของผลกำไรเป็นตัวกำหนดชี้เป้าหมาย และวัดความก้าวหน้าให้แก่บุคคล หรือองค์กรทางธุรกิจนั้น สัญญาที่ทำขึ้นจึงใช้บังคับได้ระหว่างคู่สัญญา เป็นสัญญาที่ไม่หละหลวม ตรงตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญา เพื่อลดช่องว่าง ป้องกันการขัดต่อกฎหมาย

75

การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ทำอย่างไร

การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง เป็นวิธีระงับข้อพิพาทวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ เพราะส่วนใหญ่เมื่อยื่นฟ้องกันแล้วศาลมักจะให้เจรจาในชั้นไกล่เกลี่ยซึ่งสามารถตกลงกันได้ในชั้นศาล จะดีกว่าถ้าสามารถไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ซึ่งมักใช้ในคดีแพ่ง เช่น หนี้ตามสัญญา , รับฝากที่ดิน , ให้ออกจากที่เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวาร หรือกรณีอื่นๆ ที่ยังสามารถตกลงคุยกันได้

76

รถโดนชน เรียกร้องอะไรได้บ้าง

เมื่อรถโดนชนและฝ่ายเราเป็นฝ่ายที่ถูก อีกฝ่ายที่มาชนเป็นฝ่ายที่ผิด จะต้องพิจารณาว่ามีประกันรถยนต์ทั้งสองฝ่ายหรือไม่ หรือไม่มีทั้งสองฝ่ายและถ้าเป็นประมาทร่วมทั้งคู่ก็ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆได้ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีประกันและตกลงกันได้หรือไม่ ถ้ามีประกันก็ให้โทรเรียกประกันมายังที่เกิดเหตุ หากตกลงกันไม่ได้ให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจมายังที่เกิดเหตุ เพื่อตรวจสอบว่าใครเป็นฝ่ายถูก,ผิดหรือประมาทร่วม และควรมีการถ่ายภาพนิ่งหรือวีดีโอ เช็คกล้องหน้ารถ,กล้องหลังรถ(ถ้ามี) เก็บไว้เป็นหลักฐาน หากคู่กรณีอีกฝ่ายไม่ยอมจ่ายและต้องฟ้องร้องกันในภายหลัง

77

ผ่อนรถไม่ไหว คืนรถยังไง ไม่ต้องเสียค่าส่วนต่าง

ในหลายๆเคสมักเข้าใจว่า “คืนรถแล้ว จบแล้ว” แต่ในความเป็นจริงคืนรถแล้วยังต้องเสียค่าส่วนต่างอยู่ อารมณ์แบบคืนรถไปหลายปีแล้ว ปรากฏว่า ทางไฟแนนซ์มาเรียกค่าส่วนต่างอยู่อีก และโทรมาแจ้งให้จ่ายเป็นก้อนทันทีภายใน 1 วัน หรือ 3 วันเป็นต้น หรือส่งจดหมายมาเรียกค่าอื่นๆอีก ถ้าไม่จ่ายจะฟ้องศาล “ที่คืนเพราะส่งต่อไม่ไหว คิดว่าจบแต่ไม่จบ!!!” แล้วสรุปคืนรถยังไง ไม่ต้องเสียค่าส่วนต่าง

78

อย่างไรคือสัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษ

สัญญาเช่า เป็นสัญญาที่เราค่อนข้างพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน และส่วนใหญ่ก็จะบังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดเอาไว้ แต่มีสัญญาเช่าอีกประเภท คือ “สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษ”ที่มาจากหลักตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่แตกต่างจากสัญญาเช่าทั่วไป รวมถึงเรื่องผลทางกฎหมายด้วย แล้วสัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษคืออะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยครับ

79

การเพิกถอนนิติกรรมที่ถูกฉ้อฉล ทำอย่างไรได้บ้าง

การทำนิติกรรมหรือสัญญาอะไรสักอย่าง ผู้ที่ทำจะต้องมีเจตนาที่จะผูกพันตามที่ตกลงกัน ไม่ถูกกลฉ้อฉล ข่มขู่ หรือสำคัญผิดที่จะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของนิติกรรมหรือสัญญานั้น วันนี้เราจะมาดูกันในเรื่องนิติกรรมที่ทำขึ้นเพราะถูกกลฉ้อฉลว่าคืออะไร และเราสามารถแก้ไขมันได้ยังไงบ้าง

80

ฟ้องบังคับจำนอง มีอายุความหรือไม่ อย่างไร

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา702 อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง