ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ตามกฎหมายเดิม คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ถูกยกเลิกและมีการออกกฎหมายใหม่ คือ ประมวลกฎหมายยาเสพติด มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 มีข้อสังเกตบางประการเรื่อง
กฎหมายใหม่ยกเลิกบทสันนิษฐานความผิดตามกฎหมายเดิม เช่น มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่มีข้อสันนิษฐานในทางที่เป็นคุณตาม มาตรา 107 วรรคสอง กล่าวคือ หากมีไว้ในครอบครองในปริมาณเล็กน้อยไม่เกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดในกฎกระทรวง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามกฎหมายเดิม คือการกำหนดเพดานขั้นต่ำว่าถ้าคุณครอบครองยาเสพติดเกินปริมาณที่กำหนดไว้ ก็สันนิษฐานว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ในกฎหมายยาเสพติดใหม่ไม่มีข้อสันนิษฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกต่อไปแล้ว ตามความเห็นของท่านภูวิชชชญา เหลืองธีรกุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เห็นว่าถ้าตำรวจจะทราบว่าผู้ครอบครองยาครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือเปล่า ตำรวจก็ต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ ซึ่งมันก็ยากขึ้นสำหรับตำรวจ เพราะในฝั่งผู้ต้องหาก็คงยากที่จะสารภาพตรงๆ ว่าตนเป็นคนค้ายา แล้วหลักฐานก็พิสูจน์ได้ยาก เช่น มีใช้ซิมการ์ดเถื่อนที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นชื่อตัวเอง หรือบัญชีธนาคารที่ใช้ก็อาจเป็นบัญชีม้า (การใช้บัญชีของคนอื่นเป็นช่องทางในการรับเงิน เพื่อไม่ให้มีหลักฐานเชื่อมโยงมาถึงตัว) ดังนั้นเมื่อพยานหลักฐานเป็นที่พิสูจน์ได้ยากมากและบทสันนิษฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายก็ถูกยกเลิกไปแล้ว ผู้ต้องหาก็จะรับโทษแค่ระดับหนึ่งกล่าวคือยังมีความผิดอยู่ เช่น ถ้าครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ก็จะรับโทษตามมาตรา 145 วรรค 1 คือจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท แต่ถ้ามีพยานหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าครอบครองยาเสพติดอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าหรือเหตุฉกรรจ์อื่นๆ ก็จะต้องใช้วรรค 2 ของมาตรา 145 คือจำคุกตั้งแต่ 2-20 ปี เป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2565 (ประชุมใหญ่) เมื่อตามกฎหมายเดิม มาตรา 15 ประกอบมาตรา 66 บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาเพียงปริมาณของยาเสพติดเป็นสำคัญ แต่กฎหมายใหม่ มาตรา 145 บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ในการกระทำผิดเป็นสำคัญไม่ได้ ถือเอาเพียงปริมาณดังเช่นกฎหมายเดิมอีกต่อไป แต่ปริมาณยาเสพติดที่มากขึ้นอาจบ่งชี้ได้ถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่อยู่ในตัว กฎหมายใหม่จึงไม่ได้ยกเลิกความผิดตามาตรา 66 วรรคสองและวรรคสามไปเสียทีเดียว ดังนั้น ถ้าผู้กระทำความผิดมีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสามได้ แต่ถ้ายาเสพติดมีปริมาณถึงตามกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคสองหรือวรรคสาม แต่ผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสอง หรือวรรคสาม ศาลคงปรับบทความผิดได้เพียงมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ส่วนการกำหนดโทษก็ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่ไม่ว่าทางใด ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
ฉะนั้น เมื่อมีการยกเลิกบทสันนิษฐานการครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด(กฎหมายเดิม)แล้ว หากเป็น การครอบครองยาเสพติดอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าตามกฎหมายใหม่ ตามมาตรา 145 วรรคสอง (1) ศาลจะพิจารณาตามกฎหมายใหม่ แทนกฎหมายเดิมที่ยกเลิกไป ตามพฤติการณ์ในการกระทำความผิด ปรับใช้ตามกฎหมายใหม่นั่นเอง
อ่านบทความเพิ่มเติม คดียาเสพติด คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดียาเสพติด หรือ จ้างทนายคดียาเสพติด คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่