32 ฐานความผิดลหุโทษตามป.อาญา

32 ฐานความผิดลหุโทษตามป.อาญา

ตามประมวลกฎหมายอาญา มีความผิดอยู่ 2 แบบ คือ ความผิดอาญาทั่วไปและความผิดลหุโทษ วันนี้ที่เราจะคุยกันก็คือ ‘ความผิดลหุโทษ’ ครับ เราจะไปดูกันว่าความผิดลหุโทษคืออะไร และผมก็ได้รวบรวมความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาให้ทุกคนแล้ว ไปดูกันเลยครับ

ความผิดลหุโทษ คืออะไร?

ความผิดลหุโทษคือ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่เป็นความผิดเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่ไม่ได้รุนแรงมากและมีโทษเบา ตั้งแต่โทษปรับอย่างเดียว จนถึงทั้งจำทั้งปรับ โดยที่โทษจำคุกจะไม่เกิน 1 เดือนและโทษปรับก็จะไม่เกิน 10,000 บาทครับ 

แต่ความผิดลหุโทษนี้ยอมความกันไม่ได้นะครับ แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้าทำความผิดลหุโทษ ก็มักจะให้ตำรวจเปรียบเทียบปรับไป ซึ่งส่งผลให้คดีอาญาเลิกกัน สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องก็จะระงับไปครับ

32 ฐานความผิดลหุโทษ

     1.ไม่ยอมบอกหรือแกล้งบอกชื่อ หรือที่อยู่เท็จแก่เจ้าพนักงาน เมื่อเจ้าพนักงานถามชื่อหรือที่อยู่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมาย

     2.ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งสั่งการตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร

     3.กระทำการให้ประกาศ ภาพโฆษณา หรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ หรือสั่งให้ปิด หรือแสดงไว้ หรือหลุดฉีก หรือไร้ประโยชน์

     4.ส่งเสียงทำให้เกิดเสียง หรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร อันทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน

     5.พกอาวุธเข้าไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพกไปในชุมชนที่มีการจัดงานรื่นเริง หรืองานเพื่อนมัสการ หรืองานอื่นใด

     6.ผู้ใดทะเลาะกันเสียงดังในทางสาธารณะ หรือที่สาธารณะ หรือทำการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในที่ดังกล่าว

     7.ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตที่ตนควบคุมดูแลอยู่ออกเที่ยวไปโดยลำพัง

     8.ไม่ช่วยผู้อื่นตามความจำเป็นที่ตนเห็นว่าอยู่ในอันตรายแก่ชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้ โดยไม่ควรกลัวอันตราย

  1. ทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำ หรือท่อระบายของโสโครกสาธารณะเกิดขัดข้องหรือไม่สะดวก

     10.ยิงปืนที่ใช้ดินระเบิดโดยไม่มีเหตุในเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชุมชน

     11.ปล่อยปละละเลยให้สัตว์ดุร้ายที่ตนควบคุมดูแลนั้น เที่ยวไปโดยลำพัง ซึ่งอาจจะทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์

     12.เสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น จนทำให้ตนเมา ประพฤติวุ่นวาย หรือคุมสติไม่ได้ขณะในถนนสาธารณะหรือที่สาธารณะ

     13.ชักหรือแสดงอาวุธในการทะเลาะวิวาท

     14.ทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ สระ หรือที่เก็บน้ำ สำหรับให้ประชาชนใช้

     15.ทารุณสัตว์ หรือฆ่าสัตว์ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอันไม่จำเป็น

     16.ใช้สัตว์ให้ทำงานจนเกินสมควรหรือให้ทำงานอันไม่สมควร เพราะสัตว์นั้นอายุน้อย เจ็บปวด หรือชรา

     17.เมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือสาธารณะภัยอื่น ผู้นั้นไม่ช่วยระงับเมื่อเจ้าพนักงานเรียกให้ช่วย ทั้งที่สามารถช่วยได้

     18.แกล้งเล่าความเท็จให้ลือกัน จนทำให้ประชาชนตกใจ

     19.กีดขวางทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัย หรือความสะดวกในการจราจร โดยวางหรือทิ้งสิ่งของ หรือกระทำประการอื่นใดโดยไม่จำเป็น

     20.ขุดหลุม หรือราง หรือปัก หรือวางสิ่งของเกะกะไว้ทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมาย หรือทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ละเลยไม่แสดงสัญญาณตามสมควร เพื่อป้องกันเหตุร้าย

     21.แขวน หรือติดตั้ง หรือวางสิ่งใดในลักษณะที่น่าจะตกหรือพังลง ซึ่งจะเป็นอันตราย หรือเดือดร้อน แก่ผู้สัญจรในทางสาธารณะ

     22.กระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าคนจำนวนมากโดยเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอื่นๆ

     23.ทำด้วยประการใดๆ ให้ของแข็งตกลง ณ​ ที่ใดๆ ซึ่งน่าจะเป็นอันตราย หรือเดือดร้อนรำคาญแก่บุคคลหรือทรัพย์ หรือทำให้ของโสโครก เปรอะเปื้อน หรือน่าจะเปรอะเปื้อนบุคคลหรือทรัพย์ หรือแกล้งทำให้ของโสโครก เป็นที่เดือดร้อนรำคาญ

     24.กระทำการโดยประมาท เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจ

     25.ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ   

     26.ขู่เข็ญให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจ

     27.ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา

     28.ไล่ ต้อน หรือทำให้สัตว์ใดๆเข้าไปในสวน ไร่ หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดิน เพาะพันธุ์ หรือมีพืชพันธุ์ หรือมีผลิตผลอยู่

     29.ปล่อยปละละเลยให้สัตว์ที่ตนควบคุมเข้าไปในสวน ไร่ หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดิน เพาะพันธุ์ หรือมีพืชพันธุ์ หรือมีผลิตผลอยู่

     30.ทิ้งซากสัตว์ที่อาจเหม็นเน่าในหรือริมทางสาธารณะ

     31.กระทำการใดๆ อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุมคาม หรือทำให้ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่น

     – การกระทำตามวรรค 1 ถ้าทำในที่สาธารณะ หรือต่อหน้าคนจำนวนมาก หรือ ทำในลักษณะที่ส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ (รับโทษเพิ่มขึ้น)

     – การกระทำตามวรรค 2  ถ้ากระทำโดยอาศัยเหตุที่ตนมีอำนาจเหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ในฐานะผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น (รับโทษเพิ่มขึ้น)

     32.กระทำการใดๆ อันเป็นการทารุณเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี คนเจ็บป่วยหรือคนชรา ซึ่งต้องพึ่งผู้กระทำในการดำรงชีพ หรือการอื่นใด

 

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

ฟอกเงินแพ่งคืออะไร
ไม่มีหมวดหมู่
admin
ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย!

ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย! ฟอกเงินแพ่งคืออะไร

อ่านเพิ่มเติม »
หน้าปก-ความรุนแรงในครอบครัว
ทนายคดีครอบครัว
admin
คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ

คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ ความรุนแรงในครอบค

อ่านเพิ่มเติม »