ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
คิดดอกเบี้ยเกินอัตราผลเป็นอย่างไร
สามารถบังคับใช้ระหว่างคู่สัญญาได้หรือไม่
เรื่องการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราผิดกฎหมายอะไร
ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยมีกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี และหากมีการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะผิดกฎหมายอะไร
ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ หรือหนี้เงิน ถ้ามิได้ตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ ก็ไม่คิดดอกเบี้ยระหว่างกัน แต่ถ้าภายหลังมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันระหว่างคู่สัญญา สามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีได้ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละสามต่อปี… ประกอบมาตรา 224 หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น…
แต่ถ้ามีการระบุดอกเบี้ยไว้ แต่เป็นดอกเบี้ยที่เกินอัตรา เช่น กู้ยืมเงิน 20,000 บาท คืนภายใน 5 วัน กำหนดให้ชำระดอกเบี้ยรายวัน ร้อยละ 0.2 ต่อวัน ซึ่งคนส่วนใหญ่เมื่อเห็นการเขียนดอกแบบนี้อาจคิดว่าต้องจ่ายดอกเบี้ยน้อย แต่แท้จริงแล้วมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ซึ่งเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่หากไม่ได้มีคดีความต่อกัน การเรียกดอกเบี้ยดังกล่าวก็สามารถบังคับใช้ระหว่างคู่สัญญา แต่ถ้าหากไม่มีการชำระหนี้คืนในเวลาที่กำหนดก็จะกลับกลายเป็นดอกเบี้ยทบต้นทบดอกติดหนี้หัวโตได้ ซึ่งในการกู้ยืมเงินต่างๆทั้งแบบทำเป็นหนังสือ หรือธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อยากให้ลองสังเกตการเรียกดอกเบี้ยว่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ คือ สามารถเรียกดอกเบี้ยสูงสุดได้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี
ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
(2 ) กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือ
(3) กำหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของหรือโดยวิธีการใด ๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงิน
ดังนั้นแล้ว ก่อนที่จะตัดสินใจกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ หรือกู้เงินออนไลน์ กู้ยืมนอกระบบก็ดี แม้จะเดือดร้อนต้องใช้เงินเพียงใด อยากให้อ่านสัญญา และอัตราดอกเบี้ยให้ดี แม้จะมีการเรียกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่ถึงขั้นขึ้นศาล อัตราดอกเบี้ยที่เรียกกันไว้ก็สามารถบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา แต่ถ้ามีการฟ้องร้องบังคับคดีในศาลก็สามารถยกเหตุที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ว่าท่านจะสั่งให้ใช้ดอกเบี้ยต่อกันเพียงใด
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่