ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ถูกฟ้องขับไล่
จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่ารื้อถอนหรือขนย้ายหรือไม่
หากจำเลยไม่จ่าย โจทก์จ่ายได้หรือไม่
ถ้าสังเกตคำขอท้ายคำฟ้อง คดีฟ้องขับไล่ มักจะเขียนว่า “ ข้อ 1. ขอให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่………..และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายออกจากที่ดินดังกล่าวพร้อมปรับสภาพทรัพย์ที่ดินดังกล่าวให้เรียบร้อยดังเดิม หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายออกจากที่ดินดังกล่าวพร้อมปรับสภาพที่ดินดังกล่าวให้เรียบร้อยดังเดิมโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ” เป็นต้น ถ้าโจทก์ฟ้องขับไล่และระบุท้ายฟ้องมาแบบนี้เมื่อโจทก์ชนะคดี จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายหรือไม่ และหากจำเลยไม่จ่าย ซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปแล้ว จำเลยจะเรียกค่าขนย้าย ค่ารื้อถอนเพื่อปรับสภาพที่ดินให้เป็นดังเดิมโดยให้โจทก์เป็นผู้ออกได้หรือไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 355 ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือขนย้ายทรัพย์สิน ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการรื้อถอน และขนย้ายทรัพย์สินออกจากทรัพย์นั้นได้โดยให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินนั้น และให้ถือว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป…
หากศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี หมายความว่า จำเลยในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเคร่งครัด หากศาลตัดสินให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนย้ายหรือรื้อถอน นั่นคือ จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั่นเอง
เมื่อกฎหมายเขียนว่า “…โดยให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินนั้น…” คือกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไม่ได้ ศาลชั้นต้นพิจารณาตัดสินตามรูปคดี และหากโจทก์ชนะคดี โจทก์จึงใช้สิทธิตามกฎหมายต่อจำเลยนั่นเอง แม้กฎหมายจะบัญญัติผลเอาไว้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ค่ารื้อถอนขนย้ายเป็นหน้าที่ของจำเลยซะทีเดียว ในทางกลับกันหากจำเลยเจรจาตกลงกับโจทก์ เป็นที่พอใจแก่โจทก์ได้ และโจทก์ยินยอม จะมีผลต่อไปนี้
1.โจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนหรือขนย้ายฯแต่ผู้เดียว
2.โจทก์และจำเลยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง
ฉะนั้น แนะนำว่า คุยกันดีกว่า เพื่อหาทางออกร่วมกันครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่