ค้ำประกันรถหมดคดีความกี่ปี

สัญญาค้ำประกันคือการมีคู่ความทางสามฝ่าย คือ ผู้ขาย , ผู้ซื้อ ,ผู้ค้ำประกัน เข้าทำสัญญากันโดยผู้ค้ำประกันเข้าผูกพันกับเจ้าหนี้เพื่อการชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้นค้ำประกันรถหมดอายุคดีความกี่ปีวิธีใดบ้างที่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดในการค้ำประกันรถดังกล่าว

ค้ำประกันรถหมดคดีความกี่ปี

ค้ำประกันรถหมดคดีความกี่ปี

              สัญญาค้ำประกันเกิดจาก คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทำสัญญาระหว่างกัน เช่น ทำสัญญาซื้อขายรถ ฝ่ายหนึ่งเรียก “ผู้ขาย” อีกฝ่ายหนึ่งคือ “ผู้ซื้อ” โดยฝ่ายผู้ขายจัดให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำกันประกันในสัญญาดังกล่าว ผู้ค้ำประกันคือบุคคลภายนอก มาทำข้อตกลงกับผู้ขายว่าถ้าผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะยอมชำระหนี้ แทนลูกหนี้ให้ฝ่ายเจ้าหนี้จนครบถ้วน คือเข้าผูกพันกับเจ้าหนี้เพื่อการชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น และรับผิดตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันเท่านั้น

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

            ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี

ค้ำประกันรถหมดคดีความกี่ปี

          เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระค่ารถให้ผู้ขาย หรือขาดส่งงวดหนึ่งงวดใดแล้วอันเป็นการผิดสัญญาต่อผู้ขาย ต่อมาเจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังลูกหนี้ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ที่ค้างชำระแต่ปรากฎว่า ลูกหนี้ก็หาชำระไม่ เจ้าหนี้สามารถบังคับได้กับผู้ค้ำประกัน โดยการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้รับผิดตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันได้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด มิฉะนั้นผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา เมื่อลูกหนี้และผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกันได้ โดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าหนี้จะไปบังคับให้ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ที่ผู้ค้ำประกันค้ำประกันรถไว้ (โดยถ้าผู้ค้ำประกันเป็นคนจ่ายสามารถไปไล่เบี้ยในภายหลังได้) ซึ่งเมื่อฟ้องเป็นคดีแล้ว การบังคับคดีหลังคำพิพากษา มีอายุความ 10 ปี หลังมีคำพิพากษา เจ้าหนี้ต้องสืบทรัพย์สินที่สืบทราบได้และบังคับคดีเพื่อเอามาชำระหนี้ และเจ้าหนี้สามารถติดตามและให้ชำระหนี้ให้ครบได้ภายใน 10 ปี หลังมีคำพิพากษา ถ้าพ้น 10 ปีไปแล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดทรัพย์สินใดๆได้อีก ถือว่าคดีขาดอายุความแล้ว

เหตุที่ทำให้ผู้ค้ำประกันรถหลุดพ้นจากความรับผิด

1.หนี้ของลูกหนี้ระงับไปตามปพพ. มาตรา 314 -353

  1. ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าจะทำนอกศาล หรือทำในศาล
  2. เจ้าหนี้หมดสิทธิที่บังคับคดีลูกหนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271
  3. คดีขาดอายุความเกิน 10 ปี

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

ฟอกเงินแพ่งคืออะไร
ไม่มีหมวดหมู่
admin
ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย!

ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย! ฟอกเงินแพ่งคืออะไร

อ่านเพิ่มเติม »
หน้าปก-ความรุนแรงในครอบครัว
ทนายคดีครอบครัว
admin
คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ

คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ ความรุนแรงในครอบค

อ่านเพิ่มเติม »