ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ซื้อบ้านก่อนจดทะเบียนสมรส จะเป็นสินส่วนตัวเสมอไปจริงหรือ?
สงสัยกันใช่ไหม ไปหาคำตอบกันเลย
การที่คนสองคนจดทะเบียนสมรสกัน ไม่ใช่ผูกพันกันแค่กายและใจ แต่ต้องผูกพันกันในเรื่องทรัพย์สินด้วย ซึ่งทำให้หลายคู่มีการวางแผนในเรื่องทรัพย์สินก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสกัน ในหลายคู่มักจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีบ้านอยู่ก่อนจดทะเบียน แล้วอีกฝ่ายก็เข้ามาอยู่ด้วย โดยที่วางใจว่ายังไงบ้านก็เป็นสินส่วนตัว แต่ถามว่าถ้าซื้อบ้านก่อนจดทะเบียนสมรส บ้านนั้นจะเป็นสินส่วนตัวเสมอจริงหรือ? เริ่มไม่แน่ใจกันแล้วใช่ไหมล่ะครับ เพราะฉะนั้น เรามาไขข้อสงสัยนี้ให้กระจ่างกันเลยดีกว่า
เรามาเริ่มดูจากหลักง่าย ๆ กันก่อนดีกว่าว่า แบบไหนจะเป็นสินส่วนตัว แบบไหนจะเป็นสินสมรส ซึ่งหลักในการแยกแบบง่าย ๆ ที่หลายคนน่าจะรู้กันดีก็คือ ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรสเป็นสินส่วนตัว และทรัพย์สินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรสเป็นสินสมรส
การจะพิจารณาว่า เป็นสินส่วนตัว หรือ สินสมรส จะต้องดูว่าได้ทรัพย์นั้นมาก่อนหรือหลังจดทะเบียนสมรส บ้านที่ซื้อพร้อมกับที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียน ดังนั้น จะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส ก็ต้องมาดูกันว่า อสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนจะได้กรรมสิทธิ์มาตอนไหน
ซึ่งการซื้อบ้านพร้อมที่ดินนั้นเป็นการซื้อทรัพย์ที่มีราคาสูงใช้เงินเป็นล้านๆ ดังนั้น ในการซื้อขายบ้านกันส่วนใหญ่ก็มักจะซื้อขายกันโดยทำเป็นสัญญาจะซื้อจะขายและผ่อนชำระค่าบ้านกันเป็นรายเดือน และเมื่อจ่ายครบตามเงื่อนไข ผู้ขายก็จะไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านให้ ดังนั้น การซื้อบ้านส่วนใหญ่กรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระค่าบ้านครบตามเงื่อนไขและผู้ขายไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้
ดังนั้น เมื่อการซื้อบ้านก่อนจดทะเบียนสมรส จะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสนั้น จะต้องพิจารณาการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ว่า ได้มาก่อนหรือหลังจดทะเบียนสมรส
1.ได้กรรมสิทธิ์มาก่อนจดทะเบียนสมรส
มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส และมีการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนก่อนจดทะเบียนสมรส ยังไงกรณีนี้บ้านย่อมตกเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น ยิ่งถ้าออกเงินซื้อคนเดียวด้วยแล้วยังไงก็เป็นสินส่วนตัว แต่ถ้าบ้านที่ซื้อนี้อีกฝ่ายมีการช่วยชำระค่าบ้านด้วย บ้านตรงนี้ก็จะเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันนั่นเอง
มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรสและผ่อนกันมาเรื่อยๆ ระหว่างที่ผ่อนบ้านยังไม่ครบก็จดทะเบียนสมรสกันก่อน พอผ่อนหมดก็ไปจัดการโอนกรรมสิทธิ์กัน กรณีจึงเป็นการรับโอนกรรมสิทธิ์หลังจากจดทะเบียนสมรส แม้จะทำสัญญาจะซื้อจะขายก่อนจดทะเบียนสมรสและเงินที่ใช้ซื้อบ้านจะมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาหลังจดทะเบียนสมรส บ้านและที่ดินดังกล่าวจึงได้มาในระหว่างสมรสอันจะทำให้บ้านและที่ดินเป็นสินสมรสตามกฎหมาย
สรุปก็คือ ถ้าซื้อบ้านก่อนจดทะเบียนสมรสและรับโอนกรรมสิทธิ์ก่อนจดทะเบียนสมรสเช่นกัน แบบนี้บ้านจะเป็นสินส่วนตัว แต่ถ้าซื้อบ้านก่อนจดทะเบียนสมรส แต่รับโอนกรรมสิทธิ์มาหลังจดทะเบียนสมรส กรณีแบบนี้บ้านจะเป็นสินสมรสนั่นเอง
ดังนั้น ไม่ใช่ว่าทรัพย์ที่มีก่อนจดทะเบียนสมรสจะเป็นสินส่วนตัวเสมอไป จะต้องพิจารณาประเภทของทรัพย์นั้น ๆ ด้วยว่า การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ของทรัพย์ประเภทนั้นๆ ได้มาตอนไหน? แล้วค่อยมาดูว่าเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสอีกทีครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่