ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#เจ้าของทรัพย์ต้องรู้
ดอกผลของทรัพย์ ใครได้รับประโยชน์!?
การมีทรัพย์สินไว้ในครอบครองไม่ว่าจะเป็นที่ดิน สวน ไร่ สัตว์ หุ้น เงิน หรือทรัพย์สินอื่น ๆ เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นทรัพย์สินล้วนแล้วแต่มีมูลค่าในตัวของมันเองซึ่งแน่นอนว่าเป็นประโยชน์แก่เจ้าของ แต่ไม่ใช่แค่นั้น ตัวทรัพย์สินของเรายังอาจงอกเงยเกิดเป็นดอกผลขึ้นในอนาคตได้อีก ซึ่งตามความเข้าใจ ดอกผลของทรัพย์ย่อมเป็นของเจ้าของทรัพย์ แต่ก็อาจจะมีประเด็นได้ในกรณีที่เจ้าของไม่ได้ถือครองทรัพย์สินอยู่ในขณะที่มีดอกผล ซึ่งยังไงตัวทรัพย์ก็เป็นของเจ้าของอยู่แล้ว แต่ในส่วนดอกผลของทรัพย์นี่สิ จะเป็นของใคร วันนี้เรามีมาไขคำตอบนี้ไปด้วยกันครับ
ดอกผลคือสิ่งที่งอกเงยเพิ่มขึ้นมาจากทรัพย์ หรือสิ่งที่เป็นผลผลิตจากทรัพย์นั้นครับ เช่น มีวัว 1 ตัว แล้ววัวตัวนั้นออกลูกมา แบบนี้ลูกวัวก็เป็นดอกผล หรือผลไม้ที่งอกออกมาจากต้น หรือให้คนอื่นยืมเงินแล้วเราเก็บดอกเบี้ย จะกี่เปอร์เซ็นต่อปีก็ว่าไป แต่ดอกเบี้ยนี้ก็คือดอกผลชนิดหนึ่งเช่นกัน
ดอกผลของทรัพย์ตามกฎหมายเรื่องทรัพย์สินจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.ดอกผลธรรมดา เป็นดอกผลที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ และจะต้องถือเอาได้เมื่อขาดจากแม่ทรัพย์แล้ว ดังนั้น หากยังไม่ขาดจากแม่ทรัพย์ เช่น ผลไม้ยังติดอยู่กับต้น ยังไม่ได้ดึงออกมาหรือหล่นออกมา ก็ยังไม่ถือเป็นดอกผลครับ
2.ดอกผลนิตินัย คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ตกได้แก่เจ้าของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากผู้อื่นที่ใช้แม่ทรัพย์เพื่อเป็นการตอบแทนในการใช้แม่ทรัพย์นั้นๆ เช่น ดอกเบี้ยที่ได้จากเงินที่ให้กู้ยืม ค่าเช่าที่ได้จากการนำบ้านออกให้เช่า เงินปันผลที่ได้มาจากการที่เราลงทุน หรือกำไรที่ได้จากการขายของ เป็นต้น
ดอกผลของทรัพย์เป็นสิ่งที่เกิดหรืองอกออกมาจากตัวทรัพย์นั้น ถ้าจะถามว่าดอกผลนั้นเป็นของใคร ก็แน่นอนว่าโดยหลักจะต้องเป็นของเจ้าของทรัพย์นั้นอยู่แล้วครับ ใครเป็นเจ้าของทรัพย์ก็ได้ดอกผลที่เกิดจากทรัพย์ไป แต่แต่!! มีข้อยกเว้นที่ดอกผลแม้จะเกิดจากทรัพย์ของเจ้าของ แต่เจ้าของอาจไม่ได้ดอกผลนั้นก็ได้ ดอกผลนั้นอาจจะเป็นของคนอื่นก็ได้
ข้อยกเว้นที่ดอกผลของทรัพย์จะเป็นตกได้แก่เจ้าของนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 กรณี ดังนี้ครับ
1. มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่น
1.1 ดอกผลของสินส่วนตัวเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 (3) คือกรณีที่มีการจดทะเบียนสมรสแล้ว ภายหลังมีดอกผลเกิดขึ้นมาจากสินส่วนตัวที่มีอยู่ก่อนสมรส แบบนี้ดอกผลของทรัพย์นั้นก็จะถือเป็นสินสมรสที่สามีภรรยามีสิทธิคนละครึ่ง
1.2 ผู้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริต ได้ดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่ มาตรา 415 คือ กรณีที่มีคนได้ทรัพย์สินซึ่งเป็นของคนอื่นไว้ แต่ไม่รู้ว่าทรัพย์ที่ได้มาเป็นของคนอื่น เชื่อว่าเป็นของตนเอง แบบนี้ดอกผลของทรัพย์ก็จะเป็นของผู้ได้ทรัพย์ไว้จนกว่าจะรู้ว่าทรัพย์ที่ได้มาเป็นของบุคคลอื่นและตนจะต้องคืนให้เจ้าของตัวจริง
2.มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่น
ตามที่ได้เล่าไป โดยหลักดอกผลของทรัพย์ย่อมตกแก่เจ้าของแม่ทรัพย์ แต่ถ้ามีข้อตกลงเฉพาะขึ้นมาไม่ให้ดอกผลตกเป็นของเจ้าของแม่ทรัพย์ก็ให้เป็นไปตามที่ตกลงกันครับ
3.บุคคลที่ไม่ได้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์มีสิทธิเอาดอกผลไปชำระหนี้ที่เจ้าของแม่ทรัพย์เป็นหนี้ตน
กรณีนี้ก็คล้าย ๆ กับการหักกลบลบหนี้นั่นแหละครับ แต่เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์เป็นหนี้เรา เราก็เอาดอกผลที่เกิดจากแม่ทรัพย์มาใช้หนี้เราครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่