ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
“ตัวแทน” สามารถเข้าทำกิจการแทนตัวการ รวมถึงมีอำนาจลงลายมือชื่อทำสัญญาและเข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอกได้ ทั้งนี้ หากได้รับมอบหมายจากตัวการ เพราะตามมาตรา 797 ให้ตัวแทนนั้นมีอำนาจทำการแทนตัวการได้ ซึ่งส่งผลให้ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตามมาตรา 820
“นายหน้า” มาตรา 845 ให้นายหน้ามีอำนาจเป็นเพียงผู้ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญา หรือจัดการให้ได้ทำสัญญากัน กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิทำสัญญาแทนตัวการหรือลงลายมือชื่อในสัญญาแทนตัวการได้
“ตัวแทน” โดยปกติแล้ว มาตรา 797 วรรคสอง กำหนดให้การตั้งตัวแทนนั้นจะตั้งแต่งโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมทำได้ เว้นแต่ หากกิจการที่ตัวการให้ตัวแทนไปกระทำการแทนนั้นมีกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามที่มาตรา 798 บัญญัติไว้
“นายหน้า” ไม่มีกฎหมายกำหนดถึงแบบหรือหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งไว้ การแต่งตั้งนายหน้านั้นก็ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด
“ตัวแทน” เป็นบุคคลที่มีอำนาจทำการแทนตัวการได้ทุกอย่าง หากได้รับมอบหมายจากตัวการก็ย่อมมีอำนาจที่จะรับเงินหรือรับชำระหนี้แทนตัวการได้ ถ้าการนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายสำเร็จลุล่วงไป ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะที่เป็นตัวแทนรับมอบอํานาจเฉพาะการตามมาตรา 800 เป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปตามมาตรา 801 หรือเป็นตัวแทนในเหตุฉุกเฉินตามมาตรา 802 ก็ตาม
“นายหน้า” มีกำหนดไว้ในมาตรา 849 ซึ่งบัญญัติว่า “การรับเงินหรือรับชำระหนี้อันจะพึงชำระตามสัญญานั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่านายหน้าย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับแทนผู้เป็นคู่สัญญา” ดังนั้น นายหน้าจึงไม่มีสิทธิรับเงินหรือรับชำระหนี้ตามสัญญาได้ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับมอบอำนาจเป็นพิเศษจากคู่สัญญานั้นให้มีสิทธิดังกล่าว
“ตัวแทน” มาตรา 803 วางเป็นหลักว่า ตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ แต่อย่างไรก็ดี ตัวแทนมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จได้ แต่ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ
1. ได้มีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาว่ามีบำเหน็จ ซึ่งอาจตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้
2. ทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันนั้นเป็นปริยายว่ามีบำเหน็จ เป็นกรณีที่ไม่มีข้อตกลงกันในสัญญา แต่ตามที่คู่สัญญาเคยประพฤติต่อกันมานั้นเป็นปริยายว่าเคยมีการให้บำเหน็จแล้ว
3. เคยเป็นธรรมเนียมมีบำเหน็จ เป็นกรณีที่ไม่มีข้อตกลงในสัญญาหรือเคยประพฤติต่อกันเป็นปริยายว่ามีบำเหน็จ แต่อาศัยธรรมเนียมว่าจะต้องมีการให้บำเหน็จกัน
“นายหน้า” เมื่อได้ชี้ช่องหรือจัดให้เข้าทำสัญญาแล้ว นายหน้าย่อมได้รับบำเหน็จหรือมีสิทธิเรียกให้จ่ายค่าตอบแทนเพื่อการนั้นเสมอ กรณีมีข้อตกลงกันให้ถือได้ว่าตกลงกันเป็นจำนวนตามธรรมเนียม กรณีไม่ได้ตกลงกัน กฎหมายให้คิดอัตราตามธรรมเนียม ซึ่งโดยทั่วไปให้คิดกันในอัตราร้อยละ 5 ของราคาซื้อหรือราคาขายนั้น
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่