ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ถ้าถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก
ทายาทผู้สืบสันดานของผู้ถูกกำจัดสามารถรับมรดกแทนที่ได้หรือไม่
อายุความในการฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ถือว่าอายุความขาดหรือไม่
ลองมาดูตามข้อเท็จจริงว่าศาลท่านตัดสินอย่างไรครับ
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นที่ผู้จัการมรดกโอนมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้ถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก ซึ่งในแต่ละประเด็นศาลมีการวินิจฉัยข้อกฎหมายอย่างไรไว้บ้าง มาดูกันครับ
เรื่องมีอยู่ว่า…นายสอง ,นายสาม,นายสี่ ขอให้พิพากษาให้นายหนึ่งถึงกำจัดมิให้รับมรดกที่ดินของผู้ตายนายสำรวย ซึ่งในชั้นฎีกา ที่ดินดังกล่าวก่อนที่นายหนึ่งจะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของนายสำรวยอยู่ และนายสำรวยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของนายสำรวย นายหนึ่งในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนโอนใส่ชื่อนายหนึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2551 ดังนั้น ในการนำสืบได้ข้อสรุปขณะนายหนึ่งจดทะเบียนโอนใส่ชื่อนายหนึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นมรดกของนายสำรวยอยู่ อันจะแบ่งให้แก่ทายาทได้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของนายหนึ่งว่า นายหนึ่งยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของนายสำรวยมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นหรือไม่ ในทางนำสืบแม้นายหนึ่งถูกกำจัดมิให้ได้มรดกในที่ดินพิพาท แต่การถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของนายหนึ่ง ผู้สืบสันดานของนายหนึ่งสืบมรดกแทนนายหนึ่งต่อไปได้ ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของนายหนึ่งว่า นายหนึ่งมีบุตรทั้งหมด 4 คน จึงถือว่านายหนึ่งมีผู้สืบสันดานที่สามารถสืบมรดกแทนนายหนึ่งเสมือนหนึ่งว่านายหนึ่งตายแล้วได้ตามมาตรา 1607 เมื่อทายาทของเจ้ามรดกมีทั้งหมด 10 คน แม้นายห้าทายาทคนหนึ่งได้ตายไปก่อนที่นายสำรวยถึงแก่ความตาย แต่นายห้าก็มีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่ ส่วนนายหนึ่งซึ่งเป็นทายาทของนายสำรวยคนหนึ่งถูกกำจัดมิให้ได้มรดกที่ดินพิพาท แต่นายหนึ่งก็มีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่นายหนึ่งได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งเป็น 10 ส่วนเท่าจำนวนทายาทของนายสำรวย ไม่ใช่แบ่งเป็น 9 ส่วนเท่ากันตามที่นายสอง,นายสามและนายสี่ฟ้องไว้ จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ดังนั้นนายสอง,นายสาม,นายสี่จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทคนละ 1 ใน 10 ส่วน
ปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของนายหนึ่งว่า ฟ้องของนายสอง ,นายสาม และนายสี่ ขาดอายุความมรดกหรือไม่ เห็นว่า กำหนดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดก เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ทายาทฟ้องเรียกร้องจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกัน แต่สำหรับกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อรวบรวมทรัพย์มรดกมาแบ่งปันแก่ทายาทนั้น ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือการแบ่งปันทรัพย์มรดกยังไม่แล้วเสร็จ ถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ระหว่างการจัดการมรดกทายาทย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกเมื่อใดก็ได้ ไม่มีกำหนดอายุความ คดีนี้ ที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกยังมิได้จัดสรรแบ่งปันแก่ทายาท จึงถือว่าอยู่ในระหว่างการจัดการทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก อายุความตามมาตรา 1754 จึงไม่นำมาใช้บังคับ คดีนายสอง,นายสาม และนายสี่ จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก ฎีกาของนายหนึ่งฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างนายหนึ่งในฐานะผู้จัดการมรดกกับนายหนึ่ง ให้นายหนึ่งในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนใส่ชื่อนายสอง ,นายสาม และนายสี่ ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินพิพาทคนละ 1 ใน 10 ส่วน หากนายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษานี้แทนการแสดงเจตนาของนายหนึ่ง คำขออื่นให้ยก ให้นายหนึ่งใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาจำนวน 5,000 บาท แทนนายสอง,นายสามและนายสี่ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7
จะเห็นได้ว่า เมื่อนายหนึ่งซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก โอนทรัพย์มรดกไปเป็นชื่อตน มีการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของนายสำรวยมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น อันเป็นสาเหตุให้ถูกกำจัดมิได้รับมรดก แต่ไม่ตัดสิทธิของผู้สืบสันดานนายหนึ่งในการเข้ารับมรดกแทนที่นายหนึ่ง ทายาททั้ง 10 มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินพิพาทคนละ 1 ใน 10 ส่วน และตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือการแบ่งปันทรัพย์มรดกยังไม่แล้วเสร็จ ที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกยังมิได้จัดสรรแบ่งปันแก่ทายาท จึงถือว่าอยู่ในระหว่างการจัดการทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกคดีจึงไม่ขาดอายุความ ตามมาตรา 1754
(อ้างอิง : ฎ.7036/2557)
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่