ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ลายมือชื่อนั้นไม่มีกฎหมายให้เซ็นแทนกันได้แม้จะมอบอำนาจ
เมื่อเป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
จะต้องมีลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนด้วย
ถ้าผู้เสียหายรู้อยู่แล้ว การลงลายมือชื่อแทนดังกล่าวผิดหรือไม่
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นการลงลายมือแทนคนอื่นว่าสามารถทำได้หรือไม่ และหากมีการปลอมหรือเซ็นแทน จะเป็นการปลอมเอกสาร ซึ่งความผิดในการปลอมเอกสารดังกล่าวในข้อเท็จจริงต่อไปนี้ศาลฎีกาท่านมีความเห็นเป็นเช่นไร ลองมาศึกษาพร้อมกันได้เลยครับ
นายชัยฟ้องว่า นางบีได้ปลอมเอกสารสิทธิ โดยนางบีลงลายมือชื่อของนายเอสามีในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินเป็นชื่อ นายเอ อันเป็นลายมือชื่อปลอม ทำให้นายไก่ หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารสิทธิที่แท้จริง และนางบีได้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวหลอกลวงในการฉ้อโกงทรัพย์นายไก่ โดยเจตนาทุจริตด้วยการปกปิดความจริงที่ว่านายเอมิได้ลงลายมือชื่อในเอกสาร ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะเสียหายแก่นายไก่และผู้อื่นที่ได้เกี่ยวข้องในการทำสัญญาดังกล่าว เป็นเหตุให้นายไก่หลงเชื่อ และนางบีได้ค่ามัดจำจากการทำสัญญานั้นเป็นเงิน 1,000 บาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 341, 342 และให้นางบีคืนเงิน 1,000 บาทแก่ผู้เสียหายด้วย นางบีให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นฟังว่า นางบีกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและฐานฉ้อโกง การกระทำของนางบีเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่านางบีมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ลงโทษจำคุก 1 ปี ให้จำเลยคืนเงิน 1,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหาย นางบีอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องนายชัย
นายชัยฎีกา ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า นางบีตกลงขายที่ดินให้แก่นายไก่ ผู้เสียหาย ในราคา 9,000 บาท ผู้เสียหายวางมัดจำ 1,000 บาท นางบีเขียนสัญญารับมัดจำ จ.1 ระบุนายเอ สามีนางบีเป็นผู้ให้สัญญา และเขียนชื่อนายเอ ลงในช่องลงชื่อผู้ให้สัญญาด้วย ต่อมาผู้เสียหายขอชำระราคาที่ดินที่ค้าง และให้นางบีโอนกรรมสิทธิ์ นางบีและนายเอไม่ยอมรับชำระ อ้างว่าล่วงเลยกำหนดเวลาชำระแล้วเป็นการผิดสัญญา จึงริบมัดจำมีปัญหาต้องสงสัยว่านางบีจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น เห็นว่าลายมือชื่อนั้นไม่มีกฎหมายให้เซ็นแทนกันได้ ดังนั้น แม้จะมอบอำนาจก็จะเซ็นแทนไม่ได้ ที่นางบีเซ็นชื่อสามีนางบีลงในสัญญา จ.1 จึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร แต่ในความผิดฐานปลอมเอกสารนั้นจะต้องได้ความด้วยว่าอยู่ในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนด้วย จึงจะเป็นความผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้เสียหายรู้จักชื่อและตัวเจ้าของที่ดินตลอดจนนางบีซึ่งเป็นภรรยาเจ้าของที่ดินอยู่แล้ว และรู้เห็นว่านางบีลงชื่อสามีนางบีในช่องผู้ให้สัญญาตอนทำสัญญานั้นจากพฤติการณ์ดังกล่าว ผู้เสียหาย จึงมิได้หลงผิดหรือหลงเชื่อ ไม่อยู่ในฐานะที่จะอ้างว่าได้รับความเสียหายตามกฎหมาย นางบีจึงไม่มีความผิด พิพากษายืน
จะเห็นได้ว่า ลายมือชื่อนั้นไม่มีกฎหมายให้เซ็นแทนกันได้ แม้จะมอบอำนาจก็เซ็นแทนไม่ได้ นางบีเซ็นชื่อสามีนางบีลงในสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอม แต่ความผิดฐานปลอมเอกสารนั้นจะต้องมีลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนด้วย เมื่อผู้เสียหายรู้จักชื่อและตัวสามีนางบีผู้เป็นเจ้าของที่ดินตลอดจนนางบีซึ่งเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ยังได้สมัครใจเข้าทำสัญญากับนางบีและรู้เห็นว่านางบีได้ลงชื่อสามีในช่องผู้ให้สัญญาตอนทำสัญญานั้น จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายมิได้หลงผิดหรือหลงเชื่อ จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะอ้างว่าได้รับความเสียหายตามกฎหมายสามีนางบีก็ไม่เสียหายเพราะเป็นผู้มอบอำนาจให้นางบีไว้ นางบีจึงไม่มีความผิด
อ้างอิง ฎ.1020/2517
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่