ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง
เจ้าหนี้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน แต่ว่าผู้ค้ำประกันเสียชีวิตแล้วเจ้าหนี้จึงฟ้องทายาทเพื่อบังคับจำนองที่ดิน ได้หรือไม่
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกกรณีที่ผู้ค้ำประกัน ประกันหนี้กู้ยืมเงิน แล้วต่อมาถึงแก่ความตายก่อน โดยเจ้าหนี้ไม่ทราบและส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังผู้กู้ และผู้ค้ำประกันแล้ว เนื่องจากต้องการบังคับจำนอง เจ้าหนี้จึงฟ้องทายาทของผู้ค้ำประกัน มาดูกันครับว่าศาลฎีกามีการวินิจฉัยให้ความเห็นไว้อย่างไรไว้บ้างครับ
นายชายฟ้องขอให้บังคับนายหนึ่ง,นายสอง,นายสาม,นายสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,028,850.43 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อปี ของเงินต้น 496,773.97 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น หากทั้งสี่คนไม่ชำระเงินหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้นายชาย ถ้าไม่พอชำระ ให้ยึดหรือบังคับคดีเอากับทรัพย์สินอื่นของทั้งสี่คนและทรัพย์สินในกองมรดกของนางสุดาผู้ตายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้นายชายจนครบถ้วน ทั้งสี่คนขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ทั้งสี่คนร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,028,850.43 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 496,773.97 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายชาย ทั้งนี้นายสาม และนายสี่ ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
นายชายอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2535 นายหนึ่งและนายสองทำสัญญากู้เงินจากนายชาย โดยมีนางสุดา ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 00000 ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อนายชายเพื่อเป็นประกันหนี้ ภายหลังเมื่อนายหนึ่งและนายสองผิดนัด นายชายจึงมอบให้ทนายความมีหนังสือทวงถามไปยังนายหนึ่งและนายสองให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่นางสุดา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งไม่มีใครยอมชำระหนี้ นายชายเพิ่งทราบว่านางสุดาถึงแก่กรรมแล้วเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2539 นายสามและนายสี่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและทายาทมีสิทธิรับมรดกของนางสุดา โจทก์จึงฟ้องบังคับจำนองเอาแก่นายสามและนายสี่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่านายชายบอกกล่าวบังคับจำนองหลังจากนางสุนาถึงแก่กรรมแล้ว ถือว่านายชายยังมิได้บอกกล่าวบังคับจำนอง จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง ตามปพพ.มาตรา 728
นายชายอุทธรณ์ข้อหลังว่า เมื่อนางสุดาผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของนางสุดาซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของนางสุดาย่อมตกทอดแก่ทายาทตามปพพ.มาตรา 1599, 1600 นายชายประสงค์จะบังคับจำนอง ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้า 1 เดือนก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 เมื่อนางสุดาผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก นายชายต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้กฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน นายชายจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ นายชายมิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่นายสามและนายสี่ ซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่นายชายฟ้องนายสามและนายสี่ เป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย นายชายจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของนายชายทุกข้อฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน
จะเห็นได้ว่า การฟ้องให้ทายาทรับผิดที่ผู้ค้ำประกัน ค้ำประกันหนี้ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนที่จะบอกกล่าวทวงถาม นายชายต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้กฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน นายชายจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ เมื่อนายชายมิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่นายสามและนายสี่ ซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่นายชายฟ้องนายสามและนายสี่เป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย นายชายจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง ทั้งนี้นายสามและนายสี่ ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
( อ้างอิง ฎีกา : 5553/2542 )
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่