ถ้าโจทก์ขาดนัด หรือไม่มาศาล
ศาลจะยกฟ้องได้หรือไม่ ?

ถ้าโจทก์ขาดนัด หรือไม่มาศาล ศาลจะยกฟ้องได้หรือไม่ ?

ถ้าโจทก์ขาดนัด หรือไม่มาศาล ศาลจะยกฟ้องได้หรือไม่ ?

              #ทนายเล่าเรื่อง วันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นในคดีอาญา ที่โจทก์ไม่มาศาล แล้วจำเลยขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์ โดยที่โจทก์ขาดนัด สามารถทำได้หรือไม่ ลองมาอ่านข้อเท็จกันดูครับ ว่าศาลจะมีคำสั่งเช่นไรครับ


               เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการโจทก์ (นาย ก.) ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย (นาย ข.) ในข้อหาฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา โดยศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณา จำเลย (นาย ข.) ให้การปฏิเสธ เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ (นาย ก.) นำพยานเข้าสืบเสร็จแล้ว แถลงหมดพยาน ศาลชั้นต้นเลื่อนนัดไปสืบพยานจำเลย
ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานจำเลย (นาย ข. ) มาศาล ส่วน โจทก์ (นาย ก.) ไม่มาศาล (เนื่องจากโจทก์เห็นว่าถึงไม่ไปในวันนัดสืบพยานจำเลย ตนก็ชนะแน่นอน จึงไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นทำการสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว พิพากษาว่า จำเลย (นาย ข.) มีความผิดตามฟ้อง จำคุก 9 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน


                 จากกรณีข้อปัญหาข้างต้นที่ศาลพิจารณาคดีสืบพยานโจทก์แล้ว โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยานจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 75 จำคุก 9 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกานั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “ส่วนฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า ในวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ไม่มาศาล ศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166, 181 นั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จ โจทก์แถลงหมดพยานโจทก์ ในวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติการอย่างใดต่อศาลอีกและเห็นด้วยกับความเห็นศาลอุทธรณ์ที่ว่า เมื่อโจทก์ไม่มาศาลโจทก์ก็คงเสียสิทธิในการซักค้านพยานจำเลยไปเท่านั้น จะยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้ไม่ได้” พิพากษายืน


ด้วยเหตุนี้นาย ข. จึงไม่สามารถยกฟ้องนาย ก. ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
(อ้างอิง : ฎีกา 1256/2521)

รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน

ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด