ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นว่า เงินมัดจำกันในวันทำสัญญา ถ้าเจตนาคือเป็นเงินดาวน์ นับว่าเป็นเงินมัดจำที่สามารถริบกันได้ไหม และในศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นฎีกา มีคำสั่งเช่นไร มาดูกันได้ครับ
เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่นาย ก. ฟ้องขอให้บังคับให้ นาย ข. ชำระเงินจำนวน 147,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นาย ก. ต่อมานาย ข. ให้การ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นาย ข. ชำระเงินจำนวน 87,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 8 มกราคม2540)จนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายก.
นาย ข. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้นาย ข. ชำระเงินจำนวน 82,000 บาท แก่นาย ก.นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
นาย ข. ฎีกาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้นาย ก. จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของนาย ก. และนาย ข. ปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่นาย ก. ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อนาย ก. ผิดสัญญานาย ข.จะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้ สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากนาย ก. ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่านาย ก. ผิดสัญญาและยินยอมให้นาย ข. ริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อนาย ก. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่นาย ก.ส่งมอบแก่นาย ข. ดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อนาย ก.และนาย ข. ตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากนาย ก. ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่นาย ข. ผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000 บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่นาย ข. อีก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยมา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของนาย ข. ทุกข้อฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน
กรณีนี้จะเห็นได้ว่า ศาลจะวินิจฉัยเรื่องเจตนาเป็นสำคัญด้วยว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินมัดจำที่อาจจะริบได้หรือไม่ เมื่อเจตนาไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเงินดาวน์ จึงไม่อาจริบกันได้ และการเรียกเบี้ยปรับซ้ำซ้อนกันอีกนั้น จึงไม่อาจปรับตามที่ขอ
(อ้างอิง : ฏ.9514/2544)
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่