ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง
ถ้าเลิกสัญญาแล้วส่งรถคืน
จะเริ่มนับเวลาที่ส่งรถคืนหรือไม่
การเรียกค่าเสียหายเกิดขึ้น
ภายหลังจากที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วทำได้หรือไม่
#ทนายเล่าเรื่องในวันนี้ผมขอหยิบยกกรณีการเช่าซื้อ ซึ่งมีการเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้ว ว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวขาดอายุความหรือไม่ และศาลแต่ละชั้นมีความเห็นเป็นอย่างไร ลองมาศึกษาพร้อมกันได้เลยครับ
เรื่องมีอยู่ว่า…นายแดงฟ้องขอให้บังคับนายดำและนายขาวร่วมกันชำระค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อจำนวน 1,405,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายแดง นายดำและนายขาวให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายดำและนายขาวร่วมกันชำระเงินจำนวน 821,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 13 ตุลาคม 2542) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายแดง นายดำและนายขาวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
นายดำและนายขาวฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของนายดำและนายขาวว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่นายแดงขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ ที่นายดำและนายขาวฎีกาว่า นายแดงมิได้นำสืบให้เห็นว่า ค่าเสียหายที่นายแดงขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงต้องฟังว่าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ก็มิได้บัญญัติว่าการฟ้องคดีอันเกี่ยวแก่สัญญาเช่าซื้อมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าจะต้องเป็นค่าเสียหายเฉพาะที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้บังคับอยู่เท่านั้น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็มีอายุความ 6 เดือนด้วยนั้น เห็นว่า นายแดงนำสืบว่า หลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว นายแดงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแล้วนำออกขายได้ราคา 409,090.91 บาท เมื่อหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเงินยังขาดอยู่ 798,946.83 บาท แต่นายแดงขอคิดเพียง 600,000 บาท จึงเป็นการนำสืบว่า ค่าเสียหายที่นายแดงขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์ที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่นายแดงขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่นายแดงจะทราบได้ต่อเมื่อนายแดงได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นายแดงขายรถยนต์ที่เช่าซื้อไปเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2541 แล้วฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2542 ภายในกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่นายแดงขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของนายดำและนายแดงฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน
จะเห็นได้ว่า แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่นายแดงขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ในราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่นายแดงจะทราบได้ต่อเมื่อนายแดงได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือน แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
( อ้างอิง ฎ. 5032/2547)
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่