ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง
“นิติบุคคล”เรียกค่าเสียหายต่อจิตใจได้หรือไม่?
#ทนายเล่าเรื่อง วันนี้มากับคดีที่นิติบุคคลเป็นโจทก์ฟ้องกันบ้างครับ โดยคดีนี้นิติบุคคลฟ้องจำเลยเป็นคดีละเมิดและมีการเรียกค่าเสียหายมา แต่มีค่าเสียหายหนึ่งในนั้นคือ ค่าเสียหายอย่างอื่นที่มิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือก็คือเป็นความเสียหายที่กระทบต่อจิตใจนั่นเอง ประเด็นคือนิติบุคคลเรียกค่าเสียหายต่อจิตใจได้หรือ? กระทบต่อจิตใจกรรมการผู้มีอำนาจหรือเปล่า จะยังไง เราไปดูกันเลยครับ
คดีนี้ บริษัทเอ เช่าพื้นที่ตึกของนายหมูเพื่อเปิดร้านขายสินค้าของตน ซึ่งบริษัทเอก็เช่าขายสินค้าไปเรื่อย ๆ จนครบกำหนดตามสัญญาเช่า นายหมูไม่ต้องการให้บริษัทเอเช่าต่อ นายหมูเลยแจ้งให้บริษัทเอขนย้ายทรัพย์สินออกไป แต่บริษัทเอก็ไม่ยอมออกไปและต้องการต่อสัญญา แต่นายหมูไม่ต่อสัญญาให้ นายหมูจึงมีการตัดไฟฟ้าและกั้นผนังรอบพื้นที่ร้านที่นายเอเช่า บริษัทเอก็ยังไม่ยอมย้ายออกไปโดยใช้หม้อแบตเตอรี่มาเป็นแหล่งไฟฟ้าและให้แสงสว่าง และยังซื้อน้ำแข็งมาให้ความเย็นสินค้าแทนตู้เย็นอีก นายหมูจึงเข้าไปปิดร้านของบริษัทเอเพื่อขับไล่และเอาคืนการครอบครองพื้นที่และขนย้ายสินค้าและทรัพย์สินออกไปจากพื้นที่เช่า
บริษัทเอจึงฟ้องนายหมูข้อหาละเมิด การขนย้ายทรัพย์สินของบริษัทเอออกไปโดยที่บริษัทเอไม่ยินยอมและการกระทำอื่น ๆ ของนายหมูทำให้บริษัทเอได้รับความเสียหาย จึงเรียกค่าเสียหายมา และที่น่าสนใจ ตามที่ผมได้บอกไปตอนต้นแล้วว่าบริษัทเอฟ้องข้อหาละเมิดนายหมู โดยเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นที่มิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือก็คือเป็นความเสียหายที่กระทบต่อจิตใจเข้ามาด้วย แบบนี้ศาลจะตัดสินในประเด็นเรื่องค่าเสียหายนี้ว่ายังไง เราไปดูกันเลยครับ
ศาลเห็นว่า บริษัทเอมีฐานะเป็นนิติบุคคลจึงไม่มีจิตใจเหมือนบุคคลธรรมดา การกระทำต่าง ๆ ของนายหมูย่อมไม่เปิดช่องให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจของบริษัทเอที่จะทำให้บริษัทเอสามารถเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นที่มิอาจคำนวณเป็นราคาเงินจากนายหมูได้ คำฟ้องในส่วนนี้จึงไม่ชัดแจ้งว่ามีข้อโต้แย้งที่เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่งเกิดขึ้น บริษัทเอจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ผมสรุปแบบนี้ครับ กรณีนี้บริษัทเอเป็นนิติบุคคลซึ่งไม่มีจิตใจอยู่แล้ว บริษัทเอจึงไม่สามารถเรียกค่าเสียหายที่กระทบกระเทือนจิตใจเข้ามาในคดีได้ จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งว่ามีความเสียหายต่อจิตใจเกิดขึ้น ศาลจึงไปตัดเรื่องอำนาจฟ้องในส่วนนี้นั่นเองครับ
อ้างอิง : ฎ 3379/2560
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่