ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกกรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ปัจจุบันยังคงมีการหลอกลวงในหลากหลายรูปแบบ ว่าในกรณีดังกล่าวศาลฎีกาท่านจะวินิจฉัยไว้แบบไหนมาดูกันได้ครับ
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกกรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ปัจจุบันยังคงมีการหลอกลวงในหลากหลายรูปแบบ ว่าในกรณีดังกล่าวศาลฎีกาท่านจะวินิจฉัยไว้แบบไหนมาดูกันได้ครับ
เรื่องมีอยู่ว่า…นายเอฟ้องขอให้ลงโทษนายหนึ่ง,นายสอง,นายสาม,นายสี่ ซึ่งทั้งสี่คนให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำตัดสินแล้ว นายเออุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน นายเอฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ทั้งสี่คนมีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า การแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญ โดยจะเห็นได้จากวิธีการหลอกลวง คดีนี้ทั้งสี่คนให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้อง พฤติการณ์ของทั้งสี่คนตามฟ้องมีการจัดตั้งระบบอุปกรณ์โทรศัพท์และระบบคอมพิวเตอร์ในรูปสำนักงานเครือข่ายโทรศัพท์ (Call Center) ขึ้นในต่างประเทศ และใช้การสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่าระบบ Voice Over Internet Protocol (VOIP) ด้วยวิธีการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์ของประชาชนที่ปรากฏข้อมูลอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสี่คนแล้วโทรศัพท์หรือส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อไปยังประชาชนทั่วไป รวมทั้งประชาชนไทยในราชอาณาจักร และแจ้งแก่ผู้ที่ได้รับการติดต่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จต่าง ๆในลักษณะอ้างตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หลอกลวงผู้ได้รับการติดต่อว่าผู้นั้นเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือมียอดการใช้เงินในบัญชีสูงผิดปกติให้ไปตรวจดูยอดเงินในบัญชี หรือให้ไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงรหัสข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคารที่ประชาชนผู้ถูกหลอกลวงใช้บริการหรือให้ไปดำเนินการใส่รหัสผ่าน (Password) หรือรหัสสั่งให้ระงับการทำรายการในบัญชีเงินฝาก (LOCK) บัตรเบิกถอนเงินสดเอทีเอ็มหรือรหัสระงับบัญชีธนาคาร หรือรหัสป้องกันมิให้ข้อมูลรั่วไหล โดยแจ้งว่าเพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้อื่นเบิกถอนเงินออกจากบัญชีของประชาชนผู้ถูกหลอกลวงได้ ซึ่งเป็นการหลอกลวงเหมือนกัน อันมีลักษณะเป็นการหลอกลวงทั่วไป มิได้มุ่งหมายเจาะจงหลอกลวงคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ ขึ้นอยู่กับว่าทั้งสี่คนจะสุ่มได้หมายเลขโทรศัพท์ของประชาชนคนใดที่ปรากฏข้อมูลอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสี่คนเพื่อทำการหลอกลวง การกระทำของทั้งสี่คนตามฟ้องจึงเป็นการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนแล้วเมื่อทั้งสี่คนให้การรับสารภาพ และความผิดฐานดังกล่าวมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลย่อมพิพากษาลงโทษทั้งสี่คนตามฟ้องโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง การกระทำของทั้งสี่คนจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 หาใช่เป็นความผิดเพียงฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ประกอบมาตรา 342 (1) ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของนายเอฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ทั้งสี่คนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคสอง ประกอบมาตรา 342 (1), 269/5 ประกอบมาตรา 269/7 การกระทำของทั้งสี่คนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา 269/7 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 โทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จะเห็นได้ว่า ทั้งสี่คนมีการกระทำความผิดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 แต่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนในลักษณะแสดงตนเป็นคนอื่น รวมทั้งฐานความผิดในเรื่องการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ โดยในมาตรา 269/7 ระบุให้ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆกึ่งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อทำความผิดก็ต้องรับโทษตามระเบียบครับ
( อ้างอิง : ฎ.831/2559)
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่