ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ที่ดินตามกฎหมายแล้วมีอยู่หลายประเภทมากครับ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับที่ดิน “ภ.บ.ท. 5” กัน ว่ามันคือที่ดินอะไร และเราจะมีสิทธิบนที่ดินนี้ได้ขนาดไหน เพื่อให้ทุกคนสามารถตัดสินใจได้เมื่อจะต้องซื้อที่ดิน ภ.บ.ท. 5 ครับ
ที่ดิน ภ.บ.ท. 5 ชื่อเต็มๆ คือ ภาษีบำรุงท้องที่ หรือที่ใครหลายๆ คนอาจจะรู้จักกันในชื่อ ภาษีดอกหญ้า เท่ากับว่า ภ.บ.ท. 5 เป็นเพียงเอกสารที่รับรองการเสียภาษีของผู้ที่ครอบครองที่ดินซึ่งเราจะต้องชำระให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. เมื่ออบต.รับจ่ายภาษีจากเราก็จะมีการออกเอกสารที่เรียกว่า ภ.บ.ท. 5 ให้ผู้ชำระภาษีไว้เพื่อเป็นหลักฐาน ดังนั้น ภ.บ.ท. 5 จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิที่ดิน
ที่ดิน ภ.บ.ท. 5 จึงไม่ใช่ที่ดินที่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เนื่องจาก ภ.บ.ท. 5 ไม่ได้ออกโดยกรมที่ดิน โดยที่ดิน ภ.บ.ท. 5 นี้เกิดจากปัญหาที่ดินทำกินไม่เพียงพอสำหรับจำนวนประชากร ทำให้มีคนเข้าไปอาศัยที่ดินรกร้างหรือที่ที่เป็นป่ามาเป็นที่ดินที่ใช้ทำกิน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงมีการเสียภาษีบำรุงท้องที่เพื่อให้ผู้ที่ครอบครองที่ดินมีเอกสารที่แสดงถึงการครอบครองและใช้ประโยชน์บนที่ดินนั้น ซึ่งความพิเศษก็คือที่ดิน ภ.บ.ท. 5 จะไม่เกี่ยวข้องกับกรมที่ดินเลย ไม่มีการรับรองการครอบครองหรือกรรมสิทธิ์จากกรมที่ดินเลยครับ
โดยเราสามารถปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนบนที่ดิน ภ.บ.ท. 5 นี้ได้เช่นเดียวกับที่ดินมีโฉนด ซึ่งก็ดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เลย
แน่นอนว่าที่ดิน ภ.บ.ท. 5 สามารถซื้อขายกันได้เหมือนที่ดินมีโฉนดเลยครับ เมื่อที่ดินไม่มีกรรมสิทธิ์ การขายกันจึงเป็นเพียงการโอนสิทธิครอบครองให้แก่ผู้ซื้อนั่นเองครับ โดนการโอนสิทธิครอบครองนี้ก็จะต้องไปทำที่ อบต. ด้วยการแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ให้เป็นชื่อของผู้ซื้อครับ แต่ต้องเบิกเลยว่าทำกันง่ายๆ แบบนี้ก็มีความเสี่ยงสูงตามมาอยู่แล้วครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่