ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ที่ดินในประเทศไทยเอาเข้าจริงๆ แล้วมันไม่ได้มีแต่ที่ดินมีโฉนดหรือที่ดิน น.ส.3 เท่านั้นนะครับ จริงๆ แล้วมีอยู่หลายประเภทมาก ซึ่งเราอาจจะไม่ได้ไปเกี่ยวข้องเลยไม่รู้ วันนี้ผมเลยนำเอาเกร็ดความรู้เกี่ยวกับที่ดิน ส.ป.ก. ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักมาเล่าให้ฟังว่ามันคืออะไร เป็นที่ดินแบบไหน ทำอะไรได้บ้าง เผื่อวันข้างหน้าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินนี้ จะได้รู้ไว้ก่อนนะครับ
ก่อนอื่นเลย เราไปรู้จักกับตัวย่อ ส.ป.ก. กันก่อน โดย ส.ป.ก. ย่อมาจาก ‘สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม’ ดังนั้นที่ดิน ส.ป.ก. คือ ที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ที่ดินแก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้ามาทำประโยชน์โดยทำการเกษตรในที่ดินนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่ดินของรัฐหรืออาจจะเป็นที่ดินที่ซื้อมาจากเอกชนอีกทีก็ได้ครับ โดยแนวคิดของที่ดินประเภทนี้ก็เกิดมาจากการที่ไทยประสบปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ทำกิน ไม่มีที่ทำเกษตรกรรม ซึ่งนับวันยิ่งหนักขึ้น รัฐบาลจึงตั้งสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจนถึงทุกวันนี้นั่นเองครับ
ที่ดิน ส.ป.ก. นี้จะมีเอกสารสิทธิคือ ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่แสดงการครอบครองที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมออกให้กับประชาชนที่เป็นเกษตรกรที่มีฐานะยากจนเพื่อให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยการทำประโยชน์นั้นจะทำได้เพียงเกษตรกรรมเท่านั้น ทำอย่างอื่นไม่ได้!! ซึ่งมีกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับที่ดินนี้ก็คือ พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ครับ
ขอย้ำว่าตามกฎหมาย ที่ดินนี้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น จะเอาไปสร้างตึกปล่อยเช่าหรืออื่นๆ ไม่ได้เลยนะครับ!!
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ก็จะสงสัยกันใช่ไหมครับว่า แล้วที่ดิน ส.ป.ก.นี้มันซื้อขายกันได้ไหม ถ้าซื้อขายก็ต้องซื้อไปทำเกษตรอย่างเดียวเลยไม่ใช่หรอ? อย่างแรกครับ ที่ดิน ส.ป.ก.นี้ ซื้อขายกันเองไม่ได้ครับ กฎหมายห้ามไว้ในพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา 39 ว่า ใครที่ได้สิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. แล้วจะไปแบ่งแยกหรือโอนขายไม่ได้ครับ
ที่ดิน ส.ป.ก. นี้จะเปลี่ยนมือได้ก็ต่อเมื่อผู้รับโอนเป็นสถาบันเกษตรกร หรือ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายมรดกเท่านั้นครับ
ถ้าผู้ที่ได้สิทธิในการทำกินบนที่ดิน ส.ป.ก. ฝ่าฝืนไปโอนขายให้บุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิ กฎหมายก็กำหนดโทษเอาไว้ด้วยครับ อย่างแรกเลยผู้ที่ซื้อไปจะอ้างสิทธิว่าซื้อที่ดินมาโดยชอบแล้วเข้าไปทำประโยชน์ไม่ได้ ส่วนผู้ขายหรือผู้ได้สิทธิก็จะเสียสิทธิในการทำกินบนที่ดินนั้นไป และมีโทษถึงจำคุกเลยด้วยครับ เตือนไว้ก่อนเลยว่า ถ้ารู้แบบนี้แล้วยังฝ่าฝืนอีก เสียทั้งที่ดินแล้วต้องไปกินข้าวในคุกอีก จะหาว่าผมไม่เตือนไม่ได้นะครับ
สำหรับผู้ที่เล็งจะซื้อ ถ้าเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ผมแนะนำเลยว่า อย่าเลยครับ ถึงแม้ว่าที่ดิน ส.ป.ก.นั้นจะทำเลดีหรือราคาจะถูกกว่าที่ดินประเภทอื่น ก็อย่าจะดีกว่าครับ ถึงจะแอบซื้อกันได้ แต่ถ้ามีปัญหาเป็นข้อพิพาทหรือมีคนร้องเรียนไปแล้วทาง ส.ป.ก.มาตรวจ โดนยึดที่คืนแน่นอนครับ เสียทั้งเงินเสียทั้งที่ดิน แบบนี้มีแต่เสียกับเสียครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่