ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
บุตรแม้จะเป็นบุตรธรรมแล้ว…ย่อมรับมรดกได้ จากพ่อแม่ที่แท้จริง
แล้วบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม
บุตรบุญธรรมรับมรดกได้หรือไม่
ลองมาศึกษากันดูค่ะ
การรับบุตรบุญธรรมนั้น ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี กรณีผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเองด้วย ส่วนผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง หรืออื่นๆตามแต่กรณี โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ ตามขั้นตอน
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กฎหมายจะให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กให้มีฐานะเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา หรือมารดาบุญธรรมทันทีนับแต่วันที่จดทะเบียน เช่น มีสิทธิได้รับมรดก มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา หรือมารดาบุญธรรม โดยผู้รับบุตรบุญธรรมไม่สิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม
นอกจากนี้ บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ตนได้กำเนิดมา เช่น มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อแม่ที่แท้จริง หรือมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ที่ให้กำเนิดอยู่ มีสิทธิไปมาหาสู่ได้ตามสมควร
ดังนั้น บุตรบุญธรรมจึงมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมได้
1.เนื่องจากบุตรบุญธรรมมีฐานะเดียวกันกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายในฐานะทายาทโดยธรรมที่เป็นผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) ประกอบมาตรา 1627 ที่ว่า “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
2.บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากับบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง เพราะเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันตามมาตรา 1633
3.ต้องไม่เป็นผู้ที่เสียสิทธิการรับมรดก เช่น ถูกกําจัดมิให้รับมรดก หรือถูกตัด มิให้รับมรดกหรือต้องไม่ใช่ผู้ที่สละมรดก เป็นต้น
4.ได้รับมรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
โดยบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมเพราะแม้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมด้วยตามมาตรา 1598/25 แต่การให้ความยินยอมนี้มิได้ทำให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอีกคนหนึ่งด้วย ดังนี้ บุตรบุญธรรมจึงไม่มีฐานะเป็นผู้สืบสันดานและรับมรดกของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นเอง จึงสามารถรับมรดกได้เพียงจากผู้รับบุตรบุญธรรม
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น บุตรบุญธรรมจึงมีสิทธิรับมรดกได้ โดยสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อรับมรดกในส่วนที่ตนควรได้รับ โดยให้รวบรวมข้อมูลมาปรึกษาทนาย หรือให้ทางสำนักงานดูแลคดีได้นะคะ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่