ผลของการวางมัดจำ

ผลของการวางมัดจำชำระหนี้

ผลของการวางมัดจำ ตามกฎหมายอาจ ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้ หรือให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น หรือให้ส่งคืนถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ เมื่อคู่สัญญาได้วางมัดจำในการทำสัญญากันแล้ว ย่อมก่อให้เกิดผลต่อมัดจำ แบ่งเป็น 3 กรณี

คู่สัญญาผู้วางมัดจำ

กรณีคู่สัญญาผู้วางมัดจำ ชำระหนี้ตามสัญญา

คู่สัญญาผู้รับมัดจำ จะต้องคืนมัดจำนั้นแก่ผู้วางมัดจำ หรือหากไม่คืนจะนำมัดจำนั้นมาหักตีใช้หนี้ตามสัญญาก็ได้ แต่นำมาหักตีใช้หนี้ได้เฉพาะหนี้งวดสุดท้ายเท่านั้นเพราะหากนำไปชำระหนี้ในงวดอื่นๆ เช่น งวดที่ 1 หรืองวดที่ 2 ย่อมทำให้มัดจำนั้นหมดไป ไม่มีมัดจัดที่เป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นอีก

นอกจากนี้ กรณีที่ผู้วางมัดจำเคยผิดนัดชำระหนี้แต่ผู้รับมัดจำก็มิได้ติดใจที่จะถือว่าผู้วางมัดจำผิดสัญญาใดๆแต่ยังคงรับชำระหนี้ตามสัญญาต่อไปเช่นนี้ หากต่อมาผู้วางมัดจำได้ชำระหนี้ตามสัญญาจนครบถ้วน ก็ย่อมถือว่าเป็นกรณีผู้วางมัดจำได้ชำระหนี้ตามสัญญา ดังนั้น ผู้รับมัดจำจะต้องคืนมัดจำนั้นให้แก่ผู้วางมัดจำไป

คู่สัญญาผู้วางมัดจำ

กรณีคู่สัญญาผู้วางมัดจำ ละเลยไม่ชำหนี้

หรือ การชำระหนี้ตกเป็นพันวิสัยเพราะความผิดของผู้วางมัดจำ หรือการเลิกสัญญาเกิดขึ้นเพราะผู้วางมัดจำ คู่สัญญาฝ่ายที่รับมัดจำ มีสิทธิริบมัดจำนั้นได้ เช่น สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศที่กำหนดให้ผู้ซื้อต้องวางมัดจำและตระเตรียมสถานที่สำหรับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้แก่ผู้ขายด้วย เมื่อผู้ซื้อมิได้ตระเตรียมสถานที่ดังกล่าวตามกำหนดทำให้ผู้ขายไม่สามารถติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ได้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ผู้ขายจึงย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำได้

สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศที่กำหนดให้โจทก์ผู้ซื้อตระเตรียมสถานที่สำหรับการติดตั้งเดินสายไฟฟ้า และติดสวิตช์สำหรับเครื่องปรับอากาศให้แก่จำเลยผู้ขาย ย่อมเป็นสัญญาที่ถือเอากำหนดเวลาและวิธีการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อถือกำหนดส่งมอบตามสัญญา โจทก์ไม่มีโรงแรมให้จำเลยเข้าติดตั้งส่งมอบเครื่องปรับอากาศ เป็นกรณีที่โจทก์ละเลยไม่รับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวและมีสิทธิริบเงินมัดจำ

ตัวอย่าง คู่สัญญาผู้วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อหนี้ที่ต่างต้องชำระมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอน ต่างฝ่ายย่อมเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลัน โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร บอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้น การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข1314 โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระหนี้ แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำ จำนวน 100,000 บาทได้ ส่วนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแปลงหมายเลข 1315 จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนจึงไม่ชอบ เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญาต่อกัน แม้ไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาตามพฤติการณ์ แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จึงไม่มีผลพูนกันต่อไป กรณีไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 100,000 บาท

คู่สัญญาผู้รับมัดจำ

กรณีคู่สัญญาผู้รับมัดจำ ละเลยไม่ชำระหนี้

หรือการชำระหนี้ตกเป็นพันวิสัยเพราะความผิดของผู้รับมัดจำ คู่สัญญาฝ่ายที่รับมัดจำ จะต้องส่งคืนมัดจำนั้นให้แก่คู่สัญญาผู้วางมัดจำโดยคู่สัญญาฝ่ายที่วางมัดจำมีสิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำนั้นได้ หากมัดจำที่วางไว้นั้นเป็นเงิน ผู้วางมัดจำย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดในเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ผู้รับมัดจำผิดนัดได้ด้วย เพราะถือว่าเป็นดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด