ผู้จัดการมรดกต้องแบ่งมรดกภายในกี่ปี

ถ้าผู้จัดการมรดกไม่แบ่งทรัพย์มรดกเลยล่วงเวลาไป 1 ปี

          สามารถทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อแบ่งทรัพย์มรดกอันพึงได้รับ

ผู้จัดการมรดกต้องแบ่งมรดกภายในกี่ปี

                 เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดก หน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว โดยผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1732 บัญญัติว่า ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม ทายาทโดยจำนวนข้างมาก หรือศาลจะได้กำหนดเวลาให้ไว้เป็นอย่างอื่น

              ฉะนั้นหากผู้จัดการมรดกได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี หรือแบ่งปันทรัพย์มรดกแล้วแต่มีการแบ่งทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบ เช่นโอนทรัพย์มรดกให้ตัวเองหรือบุคคลอื่น ก็ยังถือว่าผู้จัดการมรดกยังครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทคนอื่นอยู่ และทายาทก็มีสิทธิฟ้องติดตามเอาทรัพย์คืนได้โดยไม่มีอายุความ อีกทั้งผู้จัดการมรดกไม่อาจอ้างเรื่องอายุความมาต่อสู้เพื่อไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาทได้

หากผู้จัดการมรดกไม่มีการแบ่งมรดกเลย สามารถฟ้องศาลจากเหตุใดได้บ้าง

1.ฟ้องศาลถอนผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1727 หากผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ เช่น ไม่แบ่งทรัพย์มรดกภายใน 1 ปี ตามมาตรา 1728 หรือหรือไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ตามมาตรา 1731 หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้ง (ซึ่งจะเป็นการฟ้องถอน+แต่งตั้งผู้จัดการมรดกเข้าไปใหม่)
2.ฟ้องศาลให้ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดก ตามมาตรา 1719 โดยให้ผู้จัดการมรดกคนเดิมทำตามหน้าที่ของตนที่ควรกระทำแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เรียบร้อย

            เมื่อผู้จัดการมรดกไม่แบ่งทรัพย์มรดกอันทายาทอันพึงได้รับตามกฎหมายจนเวลาล่วงเลยไป 1 ปี โดยไม่มีการแจ้งให้แก่ทายาททราบ อันเป็นการที่ผู้จัดการมรดกละเลยต่อหน้าที่ หรือเพราะเหตุใดก็ตาม หากทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก หรือฟ้องให้ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดกตามแต่กรณี กรณีใดกรณีหนึ่ง สามารถนำข้อเท็จจริงมาปรึกษาทางสำนักงาน MKC LEGAL ได้นะครับ ว่าควรจะฟ้องในกรณีใด และผลเป็นอย่างไร และหากมีข้อเท็จจริงที่นอกเหนือจากนี้ สามารถนำเรื่องมาปรึกษาทางทีมทนายก่อนได้ครับ ให้ทางสำนักงาน MKC LEGAL ดูแลคดีของคุณได้ครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

ฟอกเงินแพ่งคืออะไร
ไม่มีหมวดหมู่
admin
ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย!

ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย! ฟอกเงินแพ่งคืออะไร

อ่านเพิ่มเติม »
หน้าปก-ความรุนแรงในครอบครัว
ทนายคดีครอบครัว
admin
คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ

คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ ความรุนแรงในครอบค

อ่านเพิ่มเติม »