ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
เราจะได้เห็นจากข่าวหรือสื่อโซเชียลกันมาบ้างนะครับสำหรับกรณีที่ผู้รับเหมาทิ้งงานไป คือเริ่มทำงานแล้ว แต่ทำยังไม่เสร็จก็ไม่มาทำอีกเลย หรือเบิกเงินไปแล้วแต่ก็ไม่เริ่มดำเนินการใดๆ ซึ่งสร้างความเสียหายกับตัวผู้ว่าจ้างอย่างมาก วันนี้ผมเลยอยากพาทุกคนไปดูว่าถ้าเกิดผู้รับเหมาเกิดทิ้งงานขึ้นมา เราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
ก่อนอื่นเลยเราจะต้องเข้าใจก่อนว่าการที่เราจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างมาสร้างอะไรสักอย่างโดยลักษณะของการจ้างแล้วสัญญาที่ทำกันจะเข้าลักษณะของสัญญาจ้างทำของ โดยสัญญาจ้างทำของนั้นมีการกำหนดนิยามไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ที่กำหนดว่าสัญญาจ้างทำงของ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
การที่เราจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างมาสร้างอะไรสักอย่างโดยลักษณะของการจ้างแล้วสัญญาที่ทำกันจะเข้าลักษณะของสัญญาจ้างทำของ โดยสัญญาจ้างทำของนั้นมีการกำหนดนิยามไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ที่กำหนดว่าสัญญาจ้างทำงของ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
ปัญหาจะเกิดเมื่อเราทำสัญญาจ้างก่อสร้างกับผู้รับเหมาโดยมีการกำหนดระยะเวลาการสร้างไว้ แต่พอถึงกำหนดส่งมอบบ้านหรือถึงกำหนดวันที่จะต้องสร้างให้เสร็จตามสัญญา ปรากฏว่าผู้รับเหมาสร้างไม่เสร็จหรือที่หนักเลยคือผู้รับเหมาหายไปหรือทิ้งงานไปเลย แบบนี้ในเบื้องต้นก็จะถือว่าผู้รับเหมาผิดสัญญาครับ ซึ่งตามกฎหมายแล้วตัวผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะเลิกสัญญาได้
ในทางความเป็นจริง คือเราจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาที่ทิ้งงานรายนั้นแล้ว เราก็คงยังไม่อยากจ่ายเงินเพิ่มเพื่อจ้างผู้รับเหมารายอื่นเข้ามาทำต่อหรอกครับ เพราะฉะนั้นในเบื้องต้นเราอาจจะพยายามติดต่อให้ผู้รับเหมาที่ทิ้งงานก่อนว่าทำไมสร้างไม่เสร็จ พยายามคุยกันก่อนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดครับ แต่พอสุดท้ายแล้วหากผู้รับเหมาเกิดหนีไปหรือไม่สามารถติดต่อได้เลยจริงๆ แบบนี้เราก็จะต้องแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญากับผู้รับเหมาที่ทิ้งงานไปเสียก่อน แล้วหาผู้รับเหมารายใหม่เข้ามาสร้างบ้านเราให้เสร็จ ซึ่งตามกฎหมายผู้ว่าจ้างก็มีสิทธิที่จะฟ้องตัวผู้รับเหมาที่ทิ้งงานให้คืนเงินที่จ้างได้และยังสามารถเรียกค่าเสียหายที่เราจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นสำหรับการที่จ้างผู้รับเหมารายใหม่เข้ามาก่อสร้างต่อได้อีกด้วยครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่