ฟ้องบังคับจำนอง มีอายุความหรือไม่ อย่างไร

สัญญาจำนองมีอายุความหรือไม่  

และสามารถฟ้องบังคับจำนองวิธีใดบ้าง

ฟ้องบังคับจำนอง มีอายุความหรือไม่ อย่างไร

            ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา702 อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

          ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่

           เมื่อลูกหนี้ได้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญาแก่เจ้าหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ต่อมาลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ซึ่งสัญญาจำนองจะไม่มีอายุความ แต่จะมีการระบุระยะเวลาชำระหนี้ และหากผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้สามารถทำการเก็บดอกเบี้ยหลังจากผิดนัดไม่ชำระได้นาน 5 ปี แต่หากเจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถทำการฟ้องให้ชำระหนี้ที่ค้างตามกฎหมาย รวมถึงดอกเบี้ยที่คงค้างเดิม และดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ผิดนัด ซึ่งก่อนเจ้าหนี้จะบังคับจำนอง เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว เจ้าหนี้ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและขายทอดตลาดก็ได้

ฉะนั้น เจ้าหนี้สามารถฟ้องบังคับจำนอง ได้ 2 วิธี คือ

        1.การฟ้องบังคับจำนองเพื่อยึดทรัพย์สินซึ่งจำนอง ให้หลุดมาเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ศาลจะสั่งฟ้องได้ในกรณีที่ลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยนานเป็นเวลา 5 ปี และผู้รับจำนองแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นน้อยกว่าจำนวนเงินอันค้างชำระ อีกทั้งยังไม่มีการจำนองอื่น เจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อเอาทรัพย์สินดังกล่าวให้หลุดมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้

        2.การฟ้องบังคับจำนองโดยการขายทอดตลาด เป็นการยึดทรัพย์สินที่จำนองออกมาขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้มาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง โดยหากทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดได้มูลค่าเงินที่ต่ำกว่ามูลค่าหนี้ค้างชำระ ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบส่วนต่างดังกล่าว แต่หากยังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนแก่ผู้จำนอง หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น

            กรณีขายทอดตลาดโดยไม่ฟ้องศาล ผู้จำนองมีสิทธิแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้รับจำนองเพื่อให้ผู้รับจำนองดำเนินการให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนอง โดยผู้รับจำนองต้องดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งนั้น ทั้งนี้ ให้ถือว่าหนังสือแจ้งของผู้จำนองเป็นหนังสือยินยอมให้ขายทอดตลาดแล้ว
             ถ้าต้องการฟ้องบังคับจำนอง ให้สำนักงาน MKC LEGAL ดูแลคดีของคุณได้ครับ

Info - ฟ้องบังคับจำนอง มีอายุความหรือไม่ อย่างไร

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด