การฟ้องล้มละลาย

การฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย

หลักเกณฑ์ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย

หลักเกณฑ์ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483  บัญญัติไว้ กล่าวคือ

               มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ

(3) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคต ก็ตาม

ตามมาตรา 9 (1) ที่ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น หมายความว่า ลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ซึ่งกฎหมายมีบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานไว้ให้เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ดังนี้

               มาตรา 8 ถ้ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(4) ถ้าลูกหนี้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เพื่อประวิงการชำระหนี้ หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้

ก. ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักร

ข. ไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน หรือหลบไป หรือวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ…

(5) ถ้าลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้

(8) ถ้าลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป

(9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ชำระหนี้

ซึ่งต้องพิจารณาถึงฐานะหรือข้อเท็จจริงต่างๆที่มีอยู่แล้วในเวลาที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลาย ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่อย่างไร

หลักเกณฑ์ในการฟ้องลูกหนี้ล้มละลาย

1.กรณีเป็นบุคคลธรรมดา โดยเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคนรวมกัน ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท  “มีหนี้สินล้นพ้นตัว”

  1. กรณีเป็นนิติบุคคล โดยเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท

3.ลักษณะของหนี้  โดยหนี้นั้นต้องเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนและเข้าเงื่อนไขว่าลูกหนี้  “มีหนี้สินล้นพ้นตัว”

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 10781/2558 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด