ฟ้องเพิกถอนผู้จัดการมรดก มีอายุความอย่างไรบ้าง

อายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
ในเหตุฟ้องเพิกถอนผู้จัดการมรดก
มีอายุความอย่างไรบ้าง

ฟ้องเพิกถอนผู้จัดการมรดก มีอายุความอย่างไรบ้าง

อายุความคดีมรดกประกอบด้วย

1.อายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
2.อายุความคดีมรดก
3.อายุความฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยเจตนาบกพร่อง
          เมื่อมีเหตุเพิกถอนผู้จัดการมรดกตามที่กฎหมายกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก โดยผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกเสียก่อนที่การปันมรดกจะเสร็จสิ้น

อายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก

            ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
            มาตรา 1733 วรรคสอง คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง

ฟ้องเพิกถอนผู้จัดการมรดก-อายุความ

1.อายุความก่อนปันมรดกเสร็จสิ้น หากมีการแบ่งมรดกแล้วแต่ยังแบ่งมรดกกันไม่เสร็จ ตามมาตรา 1727
2.อายุความ 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นลง ตามมาตรา 1733 วรรคสอง
           ในส่วนของอายุความการฟ้องเพิกถอนผู้จัดการมรดกดังกล่าว ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงประกอบด้วยว่ากรณีดังกล่าวฟ้องเพิกถอนได้หรือยัง ทันในอายุความหรือไม่ เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 3824/2534

            “…ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกนางมุก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2524 ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับมรดกและจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของตนคนเดียวทั้งหมด เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2524 ต่อมาได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยไป 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14กรกฎาคม 2525 ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2528 รวมเนื้อที่1 ไร่ 99 ตารางวา และได้ขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2530 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นที่ดินที่ได้มาโดยรับมรดกจากนางมุกผู้ร้องและนางม่อมแจ้งผู้คัดค้านให้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินและแบ่งที่ดินที่ยังเหลือแก่ผู้ร้องและนางม่อมแล้ว ผู้คัดค้านปฏิเสธไม่ยอมแบ่ง ผู้ร้องจึงร้องขอให้ถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกนางมุกเป็นคดีนี้…ที่ผู้คัดค้านฎีกาเป็นประการสุดท้ายว่าคดีของผู้ร้องขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และ 1733เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องเกินกำหนด 1 ปี นับแต่ทราบถึงความตายของนางมุกเจ้ามรดก และเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงนั้น เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงเท่านั้นมิใช่คดีฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดก หรือคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกจะนำอายุความฟ้องคดีมรดกและคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และ 1733 มาใช้บังคับหาได้ไม่ คดีของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ…”
            ฉะนั้น อายุความฟ้องเพิกถอนมรดกต้องดูข้อเท็จจริงประกอบว่า ต้องด้วยมาตราอะไร และแบบไหนถึงไม่ขาดอายุความ

Info - ฟ้องเพิกถอนผู้จัดการมรดก มีอายุความอย่างไรบ้าง

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด