ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับทั้งในชีวิตประจำวันของผู้คนธรรมดาและในระดับองค์กรธุรกิจ เนื่องจากการดำเนินกิจการบางอย่างตัวผู้มอบอำนาจเองอาจจะมีข้อติดขัดบางประการที่ทำให้ไม่สามารถไปทำกิจการนั้นได้เอง หรือหากจะไปดำเนินกิจการนั้นเองอาจจะเป็นการยุ่งยากและเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ จึงมีการแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจขึ้นมาเป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการนั้น
ในองค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลนั้น การมอบอำนาจจะต้องเกิดจากผู้แทนของบริษัทซึ่งในบริษัทจำกัดก็คือ กรรมการที่มีอำนาจลงนามของบริษัทตามหนังสือรับรองบริษัทนั่นเอง ปัญหาทุกอย่างคงจะไม่เกิด หากเมื่อมอบอำนาจแล้วกรรมการนั้นยังคงบริหารกิจการต่อไป แต่เคยสงสัยไหมว่า หากกรรมการบริษัทที่มีอำนาจลงนามได้ทำหนังสือมอบอำนาจขึ้นมาฉบับหนึ่ง แล้วภายหลังกรรมการนั้นได้ลาออกก็ดี มีการเปลี่ยนกรรมการมาแทนก็ดี หนังสือมอบอำนาจนั้นจะยังผูกพันบริษัทหรือไม่?
หากหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการบางอย่างเป็นครั้งคราวไป กรณีนี้หนังสือมอบอำนาจย่อมสิ้นผลไปทันทีเมื่อการที่มอบอำนาจนั้นได้เสร็จสิ้นลง ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนตัวกรรมการหรือไม่
หากหนังสือมอบอำนาจนั้นกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่น กำหนดให้สิ้นสุดในวันสุดท้ายของปีนั้น หรือกำหนดให้สิ้นสุดเมื่อพ้น 6 เดือนนับจากวันที่ลงในหนังสือ ถ้าเป็นเช่นนี้หนังสือมอบอำนาจก็จะสิ้นผลลงทันทีเมื่อครบกำหนดดังกล่าว ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนตัวกรรมการหรือไม่
บางครั้งหนังสือมอบอำนาจอาจไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ก็จริง แต่อาจจะมีการกำหนดเงื่อนไขในการสิ้นผลแทน เช่น กำหนดให้หนังสือมอบอำนาจฉบับนี้สิ้นผลลงเมื่อมีการเปลี่ยนตัวกรรมการ เป็นต้น
หากมีการทำหนังสือยกเลิกการมอบอำนาจหรือเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจนั้นก็ย่อมทำให้หนังสือมอบอำนาจเดิมสิ้นผลลงตามที่กำหนดไว้ โดยไม่สนว่าจะมีการเปลี่ยนตัวกรรมการหรือไม่
หากเข้าเงื่อนไขในข้อ 1 – 4 ข้อใดข้อหนึ่ง ก็อาจทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นสิ้นสุดลงได้ทันที แต่อย่างไรก็ตามหากไม่เข้าเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อเลย แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทไป ผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการบริษัทชุดเดิมก็ยังคงมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทในกิจการที่รับมอบอำนาจได้อยู่ตลอด ซึ่งกรณีนี้เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกายืนยันในหลักการดังกล่าว ดังเช่นปรากฏในฎีกาที่ 1146/2545
“ขณะมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนนั้น ผู้มอบอำนาจยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อยู่ แม้ภายหลังผู้มอบอำนาจจะพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ก็ตาม หาได้ทำให้ฐานะผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์สิ้นสุดไปไม่”
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่