ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
อายุความในกรณีร้องทุกข์ในคดีอาญา ในความผิดอันยอมความได้ กล่าวคือ “ความผิดต่อส่วนตัว นั้น ท่านหมายความว่า บรรดา ความผิด ที่จะฟ้องขอให้ศาลพิจารณาทางอาญาได้ แต่เมื่อผู้ที่ต้องประทุษร้ายหรือเสียหายนั้นได้มาร้องทุกข์ ขอให้ว่ากล่าว” ซึ่งผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 ซึ่งการร้องทุกข์นั้นจะร้องด้วยตัวเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนได้ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับว่า การร้องทุกข์ต้องกระทำด้วยตนเองนั้นเอง
โดยการร้องทุกข์นั้น ผู้เสียหายมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) “คำร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับ
ซึ่งผู้มีอำนาจร้องทุกข์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4,5 และ 6 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
ดังนั้นแล้ว ในการมอบอำนาจร้องทุกข์ จึงสามารถกระทำได้ ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือระบุโดยชัดแจ้งว่าใครเป็นผู้มอบอำนาจ มอบอำนาจให้ใครดำเนินการแทน และมีการมอบอำนาจให้มาร้องทุกข์เรื่องอะไร ถ้าเป็นกรรมเดียวหลายบท มอบให้ร้องทุกข์บทหนึ่งแล้ว ถือว่ามอบให้ร้องทุกข์ทุกบท ก็ต้องร้องทุกข์ได้เฉพาะเรื่องนั้นต่อบุคคลที่จะดำเนินคดีกรณีที่รู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว หรือจะให้บุคคลที่ได้รับมอบอำนาจ สามารถมอบอำนาจช่วงได้ ก็ให้เขียนระบุไว้ กล่าวคือต้องมีการเขียนว่า มอบอำนาจกระทำการเรื่องใดได้บ้าง และมีการลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจไว้เป็นสำคัญ ถือได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจจะมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจไว้ก็ไม่ได้ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์นั้นเอง แต่กรณีผู้รับมอบอำนาจเป็นนิติบุคคล จะต้องมีการประทับตราบริษัทและลงลายมือชื่อมอบอำนาจ จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อได้มีการร้องทุกข์ไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อพนักงานสอบสวน หรือต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแล้ว พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจทำการสอบสวน และพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้อง ถ้าหากมีการร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่