มัดจำ

มัดจำ หมายถึง

โดยปกติแล้วเมื่อคู่สัญญาได้ทำสัญญากัน หากมีการผิดสัญญาคู่สัญญาย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหายกันได้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะหนี้อยู่แล้ว แต่สัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาเห็นว่าค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหายที่จะได้รับตามกฎหมายนั้นยังไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่ตนอาจจะได้รับจากการผิดสัญญา หรือเห็นว่าการฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายนั้นจะทำให้ชักช้าเสียเวลาและต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินคดีซึ่งเป็นสิ่งยุ่งยากซับซ้อนเสียเวลา เช่นนี้ คู่สัญญาย่อมมีสิทธิที่จำกำหมดความรับผิดเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่สิทธิเรียกอยู่แล้วได้ โดยจะคำนวณค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าว่าถ้าผิดสัญญาจะมีค่าเสียหายอย่างไรจะต้องชดใช้สิ่งใดให้กันบ้างโดยกำหนดสิ่งเหล่านี้เป็นมัดจำ

มัดจำ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีค่าซึ่งคู่สัญญาได้ส่งมอบให้ไว้ในวันทำสัญญาเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วเป็นประกันว่าคู่สัญญาจะปฏิบัติตามสัญญานั้น โดยหากต่อมาปรากฏว่ามีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ก็จะต้องมีการริบหรือคืนมัดจำกัน แล้วแต่กรณี

ลักษณะของมัดจำ

ลักษณะของมัดจำ มัดจำต้องเป็นสิ่งที่คู่สัญญาส่งมอบกันให้ไว้ขณะเข้าทำสัญญาเท่านั้นหากเป็นสิ่งที่ส่งมอบไว้ก่อนหรือภายหลังจากทำสัญญาแล้ว ย่อมมิใช่มัดจำ เช่น เงินที่ส่งมอบให้ภายหลังจากสัญญากันแล้วย่อมมิใช่มัดจำ,หนังสือค้ำประกันของของธนาคารซึ่งส่งมอบให้ผู้ว่าจ้างแทนการวางเงินมิใช่มัดจำเพราะมิใช่การวางเงินหรือทรัพย์สินหรือสิ่งที่มีค่าในตัวแม้จะได้มีการส่งมอบกันวันทำสัญญาก็ตามหรือ

สิ่งที่จะนำมาวางเป็นมัดจำได้ จะต้องเป็นเงินหรือสิ่งที่มีค่าในตัวเอง เช่นแก้วแหวนเงินทอง ช้างม้าวัวความ รวมทั้ง เช็คหรือตั๋วเงินอื่นๆ ก็สามารถนำมาวางเป็นมัดจำได้เช่นกัน เพราะเช็ดหรือตั๋วเงินเป็นสิ่งที่สามารถเรียกเก็บเงินหรือโอนเปลี่ยนมือได้ภายในกำหนดอายุความ หรือ

สิ่งที่นำมาวางเป็นมัดจำนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่สามารถจะส่งมอบกันได้เท่านั้น เช่นเงิน ทองคำ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าอื่นๆ หากเป็นสิ่งที่โดยสภาพแล้วไม่สามารถจะส่งมอบให้แก่กันได้เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรืออสังหาริมทรัพย์ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถส่งมอบให้แก่กัน จึงไม่อาจนำวางเป็นมัดจำได้

สิ่งที่นำมาวางนั้นเมื่อมีลักษณะเป็นมัดจำเพราะเป็นสิ่งที่ได้นำมาวางขณะทำสัญญาและเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันแล้ว ไม่ว่าคู่สัญญาจะเรียกชื่อกันว่าอย่างไรก็ย่อมยังคงเป็นมัดจำ ในทางกลับกัน หากสิ่งที่นำมาวางนั้นนำวางขณะทำสัญญาหรือมิได้เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันแล้ว แม้คู่สัญญาจะเรียกกันว่ามัดจำ ก็ย่อมมิใช่มัดจำ คู่สัญญาจึงไม่อาจริบได้

ตัวอย่าง การมัดจำ

ตัวอย่าง นาย ก และนาย ข ตกลงทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สิ่งหนึ่งโดยตกลงให้นาย ก วางมัดจำไว้ 10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาทรัพย์และให้นาย ก ชำระราคาเป็นงวดอีก 9 งวด งวดละ 10 เปอร์เซ็นต์ จนครบตามราคาทรัพย์ ในกรณีเช่นนี้ เงิน 10 เปอร์เซ็นต์แรกที่ส่งมอบไว้นั้นมิใช่มัดจำเพราะโดยความมุ่งหมายและโดยข้อความเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ แรกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้

ตัวอย่าง นาย ก นำรถยนต์ไปเข้ารับบริการตรวจสภาพที่ศูนย์บริการแห่งหนึ่งพบว่าอุปกรณ์บางส่วนชำรุดจำเป็นต้องมีการเปลี่ยน แต่ในขณะนั้นศูนย์ ไม่มีอะไหล่ดังกล่าวจึงให้นาย ก จองอะไหล่ไว้ โดยให้นาย ก ชำระเงินเป็นมัดจำจำนวน 30,000 บาท และออกใบเสร็จว่านาย ก วางมัดจำไว้ 30,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวคือราคาของอะไหล่ชิ้นดังกล่าวเต็มจำนวน ในกรณีเช่นนี้จะเห็นได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้มิได้เป็นมัดจำแต่อย่างไร

ตัวอย่าง ก ตกลงจองซื้อบ้านหลังหนึ่งจากบริษัทของ ข โดยในสัญญาจองกำหนดให้ ก วางมัดจำไว้ 300,000 บาท และให้เวลา ก ไปหากู้เงินเพื่อมาทำสัญญาจะซื้อจะขาย และสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อไป หาก ก ขอกู้เงินจากธนาคารไม่ได้ บริษัท ข จะคืนเงินมัดจำ 300,000 บาทให้ เช่นนี้หาก ก ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารเพื่อมาซื้อบ้านได้ ข ก็ต้องคืนมัดจำตามข้อตกลง

ดังนั้น มัดจำ เป็นสิ่งที่เราทุกคน ต้องทำความเข้าใจให้ดีเพราะความเป็นจริงในชีวิตประจำวันเรามักจะแยกระหว่างมัดจำกับการการชำระหนี้ล่วงหน้าได้ยาก เพื่อประโยชน์แก่ทุกคนนะครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด