ยึดทรัพย์คดียาเสพติด

คดียาเสพติด

คดียาเสพติดเป็นคดีที่ทางผู้ค้าได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินจากการจำหน่ายยาเสพติด ทางรัฐจึงพยายามตรากฎหมายเพื่อให้ตัดวงจรยาเสพติดอย่างสิ้นซาก รวมทั้งกันจัดการยึดทรัพย์ที่เกี่ยวกับคดียาเสพติดทั้งทรัพย์สินที่ได้โดยตรงและทรัพย์สินที่ได้โดยอ้อม โดยทางเราขอนำเสนอว่าทางกฎหมายมีการตราขึ้นเพื่อยึดทรัพย์ในคดียาเสพติดกี่ประเภท แต่ละประเภทมีรายละเอียดอย่างไร และมีทางต่อสู้ทางกฎหมายไว้อย่างไรบ้าง

การยึดทรัพย์คดียาเสพติดตามกฎหมายแบ่งได้ 3 ประเภท

ทรัพย์คดียาเสพติด

1. การยึดทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์ของกลาง ในทรัพย์ประเภทนี้ทางกฎหมายได้มีกำหนดไว้ กล่าวคือ โดยหลักทรัพย์ประเภทนี้ คือทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดนั้นคือยาเสพติดที่ถูกตรวจยึดอยู่แล้วเป็นทรัพย์สินที่ถูกยึดอย่างแน่นอน

แต่ทรัพย์ของกลางในคดียาเสพติดประเภทหนึ่งที่อาจจะขอคืนได้ คือ ทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการการกระทำผิดหรือใช้ในการกระทำผิด ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือ ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งทรัพย์สินประเภทนี้ตามกฎหมายโดยหลักได้กำหนดให้ศาลสั่งริบ แต่แยกพิจารณาได้ว่า ถ้าเป็นการขอยึดทรัพย์ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 นั้นโดยปกติทางพนักงานอัยการโจทก์จะขอไปพร้อมฟ้องคดี โดยจะต้องพิสูจน์ว่าทรัพย์นั้นบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลถึงจะสั่งริบได้ ส่วนทางแก้นั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงสามารถยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์ที่ยึดต่อศาลอย่างช้าภายใน 30 วันนับวันที่ศาลมีคำสั่งริบ โดยต้องพิสูจน์ว่าตนไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในกระทำความผิด (ตามนัยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ 102 ทวิ)

ส่วนถ้าเป็นการขอยึดทรัพย์พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 นั้น โดยทางพนักงานอัยการจะเป็นผู้ยื่นคำต่อศาลแยกกับการฟ้องคดีอาญาต่อผู้กระทำความผิด โดยทางอัยการจะพิสูจน์ให้ศาลทราบว่า ทรัพย์ที่ขอให้ยึดนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเท่านั้น ส่วนทางแก้นั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์นั้นต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าตนไม่มีโอกาศทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์นั้นไปใช้ในการกระทำความผิด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือจะพิสูจน์ว่าคดีที่ทางพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องไปแล้ว (ตามนัยพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 และ 32)

เช่นนี้แล้วการขอยึดทรัพย์อันเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดอันเป็นทรัพย์ของกลางตามที่ได้อธิบายมานั้น หากมิได้ขอมาพร้อมกับฟ้องในความผิดอาญาหรือไม่อาจขอได้ ทางพนักงานอัยการอาจใช้อำนาจตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 เพื่อขอยึดทรัพย์ต่อไปได้เช่นกัน

ทรัพย์ของกลาง คือ

ส่วนกรณีการยึดทรัพย์คดียาเสพติดตามประเภทที่ 2 ทรัพย์ตามมาตรา 27 แห่งพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 และที่ 3 ทรัพย์ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 นั้น ทางเราขอนำเสนอในบทความการยึดทรัพย์คดียาเสพติด(ตอนที่ 2 และ 3) ต่อไป

ตอนที่ 2 การยึดทรัพย์คดียาเสพติด(ทรัพย์ที่ถูกยึดจากคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน)

บทความกฎหมายล่าสุด