ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
หลายคนถามเข้ามาที่สำนักงานของเราค่อนข้างเยอะนะครับว่า คดีนี้มีโอกาสติดคุกหรือไม่ จะรอลงอาญาได้หรือเปล่า แล้วถ้ารอลงอาญาจะต้องทำอะไรบ้าง วันนี้ผมเลยนำความรู้เรื่องการรอลงอาญามาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับ
การรอลงอาญา หรือในทางกฎหมายเรียกว่า “การรอการลงโทษ” คือ การที่จำเลยถูกศาลตัดสินหรือมีคำพิพากษาออกมาแล้วว่ามีความผิดจริง แต่ศาลเห็นว่าการปล่อยตัวจำเลยไปจะเป็นวิธีที่เป็นประโยชน์มากกว่าให้จำคุก ซึ่งหลายคนยังเข้าใจผิดว่าทำผิดครั้งแรกไม่ว่าคดีอะไร ถ้ารับสารภาพ ศาลก็จะรอลงอาญา แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เสมอไปครับ และต้องบอกในเบื้องต้นก่อนว่าการรอลงอาญาเป็นดุลยพินิจของศาล หากเข้าหลักเกณฑ์แต่ศาลเห็นว่าไม่ควรรอลงอาญา ศาลอาจให้จำคุกเลยก็ได้ครับ
การรอลงอาญานั้นไม่ใช่ว่าเป็นดุลยพินิจศาลล้วนๆ เพราะอย่างที่บอกครับในเรื่องการรอลงอาญามีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการที่ศาลจะรอลงอาญาเอาไว้อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ที่วางหลักไว้ว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือลงโทษแค่ปรับ ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้ ซึ่งจะต้องเข้า 2 กรณีดังต่อไปนี้
1.เหตุตามกฎหมาย กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 56 เลยว่าหากศาลจะรอการลงโทษไว้ได้นั้นจะต้องเข้าเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้
(ก) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ
(ข) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ
(ค) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
2.เหตุที่ตัวผู้กระทำความผิด เหตุนี้ศาลจะต้องพิจารณาโดยคำนึงถึงเรื่องต่างๆ ดังนี้
– อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อม
– สภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น
– เหตุอื่นอันควรปราณี
ถ้าศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเข้าข้อใดข้อหนึ่งใน 3 เหตุตามข้อ 1. และศาลพิจารณาโดยคำนึงถึงข้อ 2. ครบถ้วนแล้ว เห็นว่าสามารถกลับตัวกลับใจได้ อยู่ข้างนอกดีกว่าให้จำคุก หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ศาลเห็นว่ายังไม่ควรลงโทษจำเลย ศาลจะพิพากษาให้รอการลงโทษไว้ก่อนก็ได้ เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่