ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ในบางครั้งก็จะเกิดคำถามว่า เรามีสิทธิได้รับมรดกได้หรือเปล่า ในกรณีที่เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว แต่เจ้ามรดกมีมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทได้ ถ้าเป็นการรับมรดกที่ทุกท่านคุ้นเคย มีพินัยกรรมระบุ หรือไม่มีพินัยกรรม แต่มีทายาทที่สามารถรับมรดกได้ตามกฎหมาย หรือกรณีอื่นๆ ซึ่งบางกรณีก็สามารถแบ่งมรดกกันได้ หรือบางกรณีก็ต้องร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจึงสามารถดำเนินการแบ่งมรดกได้ในภายหลัง
กรณีนี้จะพูดถึงการรับมรดกแทนที่ โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จะระบุทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกได้ โดยขอสรุปให้เข้าใจง่าย คือ (1) ผู้สืบสันดาน รวมถึงบุตรบุญธรรมที่ จดทะเบียนรับรองเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน คือเป็นพี่น้องกันแต่มีบิดาหรือมารดากันคนละคนหรือต่างมารดา(บิดาเดียวกัน) หรือต่างบิดากัน(มารดาเดียวกัน)แล้วแต่กรณี และต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (5) ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งหากเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกแล้วจะไม่มีการรับมรดกแทนที่กัน (6) ลุง ป้า น้า อา โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นจะเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมแต่มารดาของบิดาเจ้ามรดกซึ่งก็มีสิทธิเท่าเทียมกันกับพี่น้องร่วมบิดามารดาของบิดามารดาเจ้ามรดก โดยสามารถรับมรดกแทนที่กันได้
โดยหลักของการรับมรดกนั้น ถ้ามิได้ระบุไว้ในพินัยกรรม จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 และที่ 2 คือ ผู้สืบสันดาน และบิดามารดาของเจ้ามรดก รวมถึงคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ตามมาตรา 1635 ด้วย ถ้าแบ่งกันได้แล้วทายาทโดยธรรมในลำดับอื่นๆจะไม่ได้รับมรดกของเจ้ามรดก เนื่องจากในมาตรา 1630 วรรคแรก ระบุไว้ว่า “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย” แต่ถ้าทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1,3,4,6 เสียชีวิตก่อนเจ้ามรดก ก็ถือว่าตัดสิทธิในการรับมรดกแทนที่ ตามระบุไว้ในมาตรา 1639 และการรับมรดกแทนที่ของทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 2 กับ 5 นั้นไม่มี เนื่องจากห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กัน ตามมาตรา 1641 แต่ถ้าข้อเท็จจริงต่างกัน เช่น ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 เสียชีวิตหลังเจ้ามรดกตาย ในกรณีที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันได้ ก็สามารถรับมรดกแทนที่กันได้นั้นเอง
ในเรื่องการรับมรดกแทนที่กัน สามารถดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 ,1630 ,1631 และในหมวดที่ 4 การรับมรดกแทนที่กัน ในมาตรา 1639 ,1640 ,1641 ,1642 , 1643 , 1644 ,1645 ประกอบ หรือมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีในการพิจารณาว่าใครบ้างสามารถรับมรดกแทนที่ได้บ้างนะคะ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่