ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
บ่อยครั้งที่นายจ้างและลูกจ้างมักจะมีปัญหากันเกี่ยวกับเรื่องของเงินเดือน บางคราวทางฝ่ายนายจ้างเองก็อยากจะลดต้นทุนขององค์กร นายจ้างก็มักจะหาเหตุผลต่างต่างนานามาเพื่อลดเงินเดือนหรือค่าแรงของลูกจ้าง โดยเหตุผลที่ฝั่งนายจ้างใช้เป็นข้ออ้างประจำก็คงจะไม่พ้น ลูกจ้างทำงานไม่ดี หรือทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพนั่นเอง จึงเกิดประเด็นคำถามว่า ลูกจ้างทำงานไม่ดีนายจ้างจะลดเงินเดือนได้หรือไม่?
โดยกฎหมายแล้ว ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้กำหนดให้เงินเดือนถือเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งที่นายจ้างได้จ้างลูกจ้างเข้ามาทำงาน (“สภาพการจ้าง” หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน) และเมื่อนายจ้างได้ตกลงเรื่องเงินเดือนกับลูกจ้างไว้อย่างใดข้อตกลงนั้นก็ถือเป็น “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง” อย่างหนึ่งด้วย
การจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องนี้อาจทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น
ดังเช่นกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของลูกจ้างขึ้นดังนี้นายจ้างสามารถกระทำได้โดยฝ่ายเดียวเพราะถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
หากนายจ้างต้องการปรับเปลี่ยนเงินเดือนลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแล้ว (ลดเงินเดือน) นายจ้างสามารถเจรจากับลูกจ้างเพื่อขอความยินยอมได้ โดยนายจ้างอาจแสดงเหตุผลหรือความจำเป็นที่จะต้องมีการลดเงินเดือนให้ลูกจ้างทราบ หากลูกจ้างยินยอมหรือยอมรับเงื่อนไขนั้นได้ก็อาจมีการปรับลดเงินเดือนได้
หากนายจ้างได้กระทำการซึ่งมีผลเป็นการลดเงินเดือนหรือผลประโยชน์ของลูกจ้าง เช่น มีการปรับลดตำแหน่งทำให้สิทิประโยชน์ต่าง ๆ ของลูกจ้างลดลง และลูกจ้างไม่ได้คัดค้านมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จากแนวคำพิพากษาฎีกา เช่น ฎีกาที่ 4810/2552 ศาลมองว่าพฤติการณ์ที่ลูกจ้างไม่ได้คัดค้านมาโดยตลอดถือเป็นกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกันโดยปริยายให้แก้ไขข้อตลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นได้
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าการที่นายจ้างจะปรับลดเงินเดือนของลูกจ้างโดยฝ่ายเดียวจึงไม่อาจกระทำได้ หากนายจ้างประสงค์ที่จะลดเงินเดือนของลูกจ้างก็จะต้องเจรจากับลูกจ้างและให้ลูกจ้างนั้นตกลงยินยอมด้วยจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย
แต่ทั้งนี้ หากประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้างลดต่ำลงอันเนื่องมาจากลูกจ้างได้ฝ่าฝืนระเบียนข้อบังคับที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนแล้ว เช่น นายจ้างมีระเบียบห้ามลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์บริษัทเล่นโซเชียลในเวลาทำงาน ลูกจ้างฝ่าฝืนและนายจ้างได้เตือนแล้ว กรณีนี้นายจ้างอาจเลิกจ้างลูกจ้างนั้นเสียก็ได้ หรือกรณีที่ประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้างลดต่ำลงจนไม่สามารถทำงานได้อันเนื่องมาจากสภาพทางกาย เช่น ลูกจ้างถูกรถชนจนตาบอดไม่สามารถทำงานให้นายจ้างได้ตามปรกติ นายจ้างก็อาจเลิกจ้างลูกจ้างได้เช่นเดียวกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่