ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
บางครั้งคนเราจะสับสนกฎหมายอาญาที่มีฐานความผิดอันเกี่ยวกับทรัพย์ จะเห็นได้ว่าแต่ละฐานความผิดนั้นมีจุดมุ่งหมายคล้ายกัน คือเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์แห่งทรัพย์สิน แต่ละฐานความผิดนั้นมีองค์ประกอบของความผิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นการพิจารณาการกระทำความทางอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายและความผิดฐานฉ้อโกง
การลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 กล่าวคือ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ในการพิจารณาองค์ประกอบความผิดดังต่อไปนี้
ประการ 1. คำว่า เอาไป มีข้อพิจารณาถึง 3 ประการ
1. การแย่งการครอบครอง กล่าวคือทรัพย์นั้นต้องอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น
2. ต้องมีการพาเอาทรัพย์เคลื่อนที่ไป ซึ่งการพาทรัพย์เคลื่อนที่ไปแม้ทรัพย์จะเคลื่อนที่แล้วอาจจะไม่เป็นความผิดสำเร็จ หากการเคลื่อนที่เป็นแต่เพียงการแยกทรัพย์ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้กระทำขึ้นเป็น ความผิดฐานพยายาม
3. เป็นการเอาไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นการเอาไปเพียงชั่วคราว เช่น ดึงปืนมาจากผู้อื่นกลัวว่าเขาจะใช้ปืนดังกล่าวทำร้ายแล้วโยนทึ้งหรือแอบเอารถผู้อื่นไปกินข้าวต้มเมื่อกินเสร็จแล้วจะนำรถมาส่งคืน เช่นนี้ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ประการ 2. โดยทุจริต เป็นเจตนาภายใน คือการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หากมิได้มีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ดังกล่าว จะส่งผลให้การกระทำไม่ครบองค์ประกอบความรับผิด
ประการ 3. การใช้กลอุบาย หมายถึงการกระทำโดยการหลอกให้ผู้อื่นโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือผู้ครอบครองส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินให้แก่ตน การหลอกเพื่อส่งมอบครอบครองจึงเป็นจุดแตกต่างจากการหลอกในความผิดฐานฉ้อโกง
ส่วนความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ในการพิจารณาตามองค์ประกอบความผิดดังต่อไปนี้
ประการ 1. การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงนั้นมีอยู่สองส่วน ส่วนหนึ่งคือการหลอกลวง ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ กับอีกส่วนหนึ่งคือการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
จากข้อความที่ว่าแสดงข้อความอันเป็นเท็จเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวว่าในขณะนั้นจะต้องมีความจริงอยู่ว่าเป็นเช่นไร แล้วได้มีการกล่าวข้อเท็จจริงหรือยืนยันข้อเท็จจริงบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่จึงเป็นความเท็จ ดังนั้นข้อความเท็จจะต้องเป็นข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ถ้าเป็นเหตุการณ์ในอนาคตแล้วยังไม่ทราบว่าจริงเป็นอย่างไรเท็จเป็นอย่างไร จึงเกิดหลักที่ว่าการกล่าวข้อเท็จจริงใดถ้าเป็นการให้คำมั่นหรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตแล้วไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าการกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตหรือการให้คำมั่นก็ตาม ถ้าการแสดงข้อเท็จจริงนั้นเป็นการยืนยันหรือแสดงภาวะแห่งจิตของผู้ที่หลอกลวงว่าเป็นเท็จในขณะที่กล่าว การกระทำนั้นก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
ประการ 2. การทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหลงเชื่อ กล่าวคือ การหลงเชื่อนั้นทำให้ความผิดเป็นผลสำเร็จอันเป็นสำคัญประการหนึ่ง
ประการ 3. การทำให้มีการโอนทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงกล่าว คือ มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือมีการทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิด้วยความสมัครใจหรือเต็มใจของผู้ถูกหลอกลวงนั้นเองซึ่งทรัพย์สินที่ได้ไปนั้นอาจจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ และเป็นทรัพย์สินที่มีราคาและอาจถือเอาได้
ประการ 4. ทำให้เกิดความเสียหายในทางทรัพย์สิน กล่าวคือ ความผิดฉ้อโกงจะต้องเป็นความผิดที่ต้องการผลสำเร็จและมีคุณธรรมทางกฎหมาย คือ ความเสียหายในทางทรัพย์ หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าผู้ถูกหลอกลวงจะต้องหลงเชื่อและเกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินขึ้นหากไม่ได้เกิดความเสียหายการกระดังกล่าวก็อาจเป็นเพียงการพยายามฉ้อโกงเท่านั้น
ประการ 5. ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดที่ต้องกระทำโดยเจตนาและเจตนาโดยทุจริต นั้นคือโดยทุจริตเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น
จากที่กล่าวมาดังกล่าวสามารถพิจารณาความแตกต่างระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายและความผิดฐานฉ้อโกงได้ดังต่อไปนี้
กล่าวโดยสรุป การหลอกลวงเพื่อได้มาซึ่งการยึดถือจะได้เอาทรัพย์ไปโดยสะดวก เป็นลักทรัพย์โดยใช้อุบาย แต่ถ้ามีการส่งมอบการครอบครองโดยการหลอกลวงย่อมเป็นฉ้อโกง
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่