ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้รับจำนองต้องรู้!!
วิธีการบังคับจำนอง มีกี่วิธีและมีอะไรบ้าง
ในปัจจุบันการกู้ยืมเงินจำนวนมากๆ เราควรจะเช็คเครดิตคนที่มากู้ให้ดีก่อนว่ายืมแล้วใช้คืนไหม หรือวิธีการง่ายๆ ก็อาจจะขอหลักประกันเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นหาคนมาค้ำประกันหรือหาทรัพย์สินมาจำนองจำนำ สำหรับวันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่เรื่องการจำนองว่า ถ้ามีคนมากู้ยืมเงินกับเราแล้วนำที่ดินมาจำนองไว้ สุดท้ายไม่จ่ายหนี้จะมีวิธีการบังคับจำนองยังไงบ้าง เราไปดูกันเลยครับ
ก่อนที่เราจะไปพูดถือเนื้อหาสำคัญ เรามาทำความรู้จักกับตัวละครที่เราจะพูดถึงในวันนี้ก่อนดีกว่าครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือมีคนมากู้ยืมเงินเราแล้วนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองไว้กับเราเพื่อเป็นประกันในการชำระหนี้กู้ยืม คนที่มากู้เงินนอกจากจะมีสถานะเป็นผู้กู้แล้ว ก็ยังมีสถานะเป็น “ผู้จำนอง” ด้วย ส่วนเราที่ยอมรับที่ดินไว้เป็นประกันก็จะมีสถานะเป็น “ผู้รับจำนอง”ครับ แต่ที่สำคัญ การจำนองจะต้องมีการจดทะเบียนด้วย หากไม่จดทะเบียนก็เป็นแค่การยึดหน่วงทรัพย์สินไว้เฉยๆ ไม่สามารถบังคับกับทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายจำนองครับ
การจำนอง คือ การนำทรัพย์สินไปจดทะเบียนไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ซึ่งหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็จะมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินที่จำนองได้
จะเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการจำนองก็คือให้เจ้าหนี้มีหลักประกันที่สามารถบังคับได้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ การบังคับจำนองก็คือการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั่นเอง แล้วการบังคับที่ว่าคือทำยังไง สงสัยกันใช่ไหมครับ
การบังคับเอากับทรัพย์สินที่จำนอง ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ จะนำไปขายแล้วเอาเงินมาใช้หนี้ได้เลยนะครับเพราะกฎหมายได้กำหนดวิธีการบังคับจำนองเอาไว้แล้วว่าจะต้องบังคับยังไง โดยกฎหมายกำหนดวิธีการบังคับจำนองเอาไว้ 3 วิธีครับ
กรณีนี้เป็นการที่ผู้รับจำนองต้องฟ้องคดีเพื่อนำทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลอดแล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ แต่ผู้จำนองก็สามารถเข้ามาไกล่เกลี่ยขอชำระหนี้ในคดีเพื่อไม่ให้ถูกบังคับจำนองได้ครับ
กรณีฟ้องเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิ คือ การฟ้องคดีเพื่อเอาทรัพย์สินที่จำนองนั้นมาเป็นสิทธิของผู้รับจำนองเอง แต่วิธีการนี้มีหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างเยอะครับ คือ
2.1 ทรัพย์สินนั้นจะต้องไม่ถูกนำไปจำนองกับคนอื่นเพิ่ม คือมีเราเป็นผู้รับจำนองคนเดียวและไม่มีบุริมสิทธิอื่นที่จดทะเบียนไว้
2.2 ลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี โดยไม่ต้องเป็น 5 ปีติดกันก็ได้
2.3 ทรัพย์สินที่จำนองมีราคาน้อยกว่าหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาจำนอง
ถ้าครบทั้ง 3 หลักเกณฑ์นี้ ก็สามารถฟ้องบังคับเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิได้ครับ
กรณีนี้เป็นกรณีที่เริ่มจากตัวผู้จำนองส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้รับจำนองให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองไว้ได้เลยโดยที่ผู้รับจำนองไม่ต้องฟ้องเป็นคดีเหมือน 2 วิธีก่อน แต่ที่สำคัญคือจะต้องเริ่มจากตัวผู้จำนองนะครับ โดยผู้รับจำนองจะต้องขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองนั้นภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ขายจากผู้จำนองครับ ซึ่งหนังสือแจ้งให้ขายดังกล่าวกฎหมายให้ถือว่าเป็นหนังสือที่ผู้จำนองยินยอมให้ขายทอดตลาดด้วยเพื่อป้องกันกรณีที่ผู้จำนองมาอ้างทีหลังว่ายังไม่ได้ยินยอมเลยนั่นเอง
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่